การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ กลุ่มหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มหลากหลายทางเพศในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ดำเนินการตามขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 32 คน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการหรือตัวแทนผู้บริหารโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มหลากหลายทางเพศในประเทศไทย จำนวน 12 ท่าน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ จำนวน 20 ท่าน จากนั้นนำผลจากการวิเคราะห์แก่นสาระดำเนินการสนทนากลุ่ม ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย จำนวน 8 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงแรมสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติกลุ่มหลากหลายทางเพศในประเทศไทย มีปัจจัย 3 อันดับแรกที่นักท่องเที่ยวกลุ่ม LGBTQ ให้ความสำคัญคือ 1) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปัจจัยด้านกายภาพ ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านแหล่งท่องเที่ยว ด้านกฎหมาย และด้านเศรษฐกิจ 2) ปัจจัยองค์ประกอบบริหารจัดการโรงแรมได้แก่ ด้านกระบวนการบริหาร ด้านทรัพยากรมนุษย์ ด้านเทคโนโลยี ด้านการตลาดและด้านสถานที่ และ 3) ปัจจัยการเลือกเข้าพักโรงแรมในประเทศไทย ได้แก่ ปัจจัยด้านความสะดวกสบาย ด้านความเป็นส่วนตัว ด้านความเท่าเทียมกันและการให้เกียรติ ด้านรสนิยม ด้านคุณภาพการบริการ และด้านช่องทางการสื่อสาร ดังนั้นสำหรับให้ผู้ประกอบการที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับที่พักโรงแรมที่ต้องพัฒนาและการขยายตลาดไปยังกลุ่มนักท่องเที่ยว LGBTQ ควรมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับพฤติกรรมนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น โดยธุรกิจที่พักเน้นด้านองค์ประกอบบริหารจัดการโรงแรมการออกแบบและตกแต่งสถานที่ ความปลอดภัย ความสะอาดของสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่พัก รวมไปถึงปัจจัยภายนอก การออกแบบกระบวนการให้บริการผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว และการเข้าถึงข้อมูลการท่องเที่ยว ตลอดจนสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวแบบใหม่แก่นักท่องเที่ยว
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Boontum, V. and Bussaparoek, M. (2021). A Study of Behavior and Motivation toward Intention to Repeat to Travel: A Case Study of Surin. Journal of Management Science Review, 23(2), 39-49.
Cheawjindakarn, B. (2018). Qualitative Case Study Research Techniques. Liberal Arts Review, 13(25), 103-118.
Chonwilai, S. (2019). Gender of Siam: History of Sexual Diversity. Discovery Siam.
Jangnert, P., Bunyavate, P., Jannual, O. and Chinnaphong, P. (2023). Demands of LGBTQIA+ Tourists towards Pattaya City Tourism, Chonburi Province. Western University Research Journal of Humanities and Social Science, 9(9), 157-168.
Puangniyom, P., Ratanamaneichat, C. and Sukjaroen, N. (2017). Hotel Business Guidelines for Creating LGBT Marketing Opportunity. Veridian E-Journal, Silpakorn University,10(3), 2455-2471.
Phimphorn, P., Sumran-in, C. and Chuapung, B. (2020). The Development of Hostels to Accommodate Tourists in Ayutthaya. Panyapiwat Journal, 12(3), 147-161.
Visaratsakul, V., Panyakamphon, C., Hirunsalee, S. and Sinthurat, T. (2021). A Study of Tourism Supply Promptness in Welcoming LGBT Tourists: A Case Study of Gay Tourists. Journal of International and Thai Tourism, 17(1), 140-163.