ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาทักษะการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศก
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาทักษะการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศกก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาทักษะการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศก จำนวน 388 คน โดยใช้รูปแบบการทดลองที่มีกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ซึ่งมีการวัดค่าตัวแปรตามก่อนและหลังการทดลอง
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดกิจกรรมแนะแนวการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาทักษะการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศก สามารถพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน โดยที่นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรม มีคะแนนจากแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ชุดกิจกรรมแนะแนวการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาทักษะการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศก สามารถพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน โดยที่นักเรียนกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมกิจกรรม มีคะแนนจากแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่เข้าร่วมโปรแกรมชุดกิจกรรมแนะแนวการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาทักษะการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศก มีความเห็นสอดคล้องกันว่า ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนสามารถพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ส่งผลให้เป็นคนที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง รับรู้คุณค่าของตนเองตามความเป็นจริง แสดงออกได้อย่างเหมาะสม มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น ช่วยให้นักเรียนสามารถดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุข
องค์ความรู้/ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึงระดับของการเสริมแรงทางสังคมและเบี้ยอรรถกรเพื่อพัฒนาทักษะการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนทวีธาภิเศก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Apsornsiri, I & Sudarat, P. (2017). A Development of The Guidance Activity Package to Enhance Student
Self-Esteem. Academic Journal Bangkokthonburi, 6(1), 165-166.
Binghan, A.A. (1994). Exploring the Multiage Classroom. StenhousePublisher.
Coopersmith, S. (1981). The antecedent of self-esteem. Consulting Psychologists Press.
Kornwika, S. & Manasanan, H. (2020). The effects of the token reinforcement and social reinforcement program for enhancing public mind of Prathomsuksa 1 students at Watthammapirataram school Bangkok. Journal of Educational Measurement, 37(102), 185-186.
Maslow, A. (1970). Motivation and Personality. (2nd ed.). Harpers and Row.
Metha, H. (2018). learning Theory. https://www.gotoknow.org/posts/646480
Nattawadee, K. & Witad, P. (2022). Improving Grade 7 Students’ Homework Submission Rate and Learning Achievement in On-Hand Learning Context with Tokens Economy. Journal of Education and Human Development Sciences, 6(1), 43-52.
Pongpon, P. & Sukarn. P. (2020). The Adjustment of Unwanted Behavior of Autistic Child by Token Reinforcement. Lawarath Social E-Journal, 2(1), 83-84.
Rattanaporn, P. (2018). Fostering self-esteem among learners...ready to step into the wider world of learning society in the Thailand 4.0. eprints.utcc.ac.th/6115/1/proceeding_ 0126%20.pdf
Skinner, B.F. (1989). Beyond freedom and dignity. Knopf.
Sriruen, S. (2010). Developmental Psychology of Life at All Ages Volume 1, Theoretical Concepts - Middle Childhood. Publishing House of Thammasat University.
Suchada, K. & Suwaree, S. (2014). The Effect of Positive Reinforcement on Disruptive Behavior in Class of ADHD Children. [Master’s Thesis, Khon Kaen University].
Thuangrat, R. (2015). Providing group counseling to enhance self-esteem of students with undesirable behaviors in a Northern Private Vocational School [Master’s Thesis, Chiangmai University].