การพัฒนาระบบฐานข้อมูลตามเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียนเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

Main Article Content

หฤทัย สมศักดิ์
วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย
อุดมวิทย์ ไชยสกุลเกียรติ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลนำเข้าของระบบฐานข้อมูล 2) เพื่อพัฒนาระบบฐานข้อมูล และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของ ระบบฐานข้อมูลตามเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียนเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ อาจารย์สายวิชาการและเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน ประจำหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล 9 แห่ง จำนวน 89 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึก และการวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลนำเข้าของระบบฐานข้อมูลตามเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียนเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้แก่ ข้อมูลหลักสูตร/สาขาวิชาที่เปิดสอน ข้อมูลจำนวนนักศึกษา ข้อมูลการรับนักศึกษา ข้อมูลการคงอยู่ของนักศึกษา ข้อมูลการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา ข้อมูลผลการประเมินจากความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ข้อมูลผลงานนักศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ข้อมูลอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริงและลาศึกษาต่อ ข้อมูลคุณวุฒิอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ฯลฯ
2. ระบบฐานข้อมูลมีลักษณะเป็นฐานข้อมูลระบบคลาวด์ที่ใช้ข้อมูลนำเข้าทั้ง 20 ข้อมูลมาดำเนินการภายใต้ โมดูลการวางแผน โมดูลการดำเนินงาน โมดูลการประเมินคุณภาพ และโมดูลการเสนอแนวทางปรับปรุง
3. ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลตามเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
สมศักดิ์ ห., พัฒนกุลชัย ว., & ไชยสกุลเกียรติ อ. . (2024). การพัฒนาระบบฐานข้อมูลตามเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียนเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(4), 1975–1990. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/269346
บท
บทความวิจัย

References

Kanyada Anuwong, Artree Supasuteekul, Waiyawut Unaisil, and Kanrat Sunthornpan. (2018). The practice of requesting to help quality assurance systems comply with the University Network (AUN-QA). ) domestic curriculum level Srinakharinwirot Journal Don't Forget (Humanities and Social Sciences). 10(20) July - December 2018.

Ministry of Education. (2002). National Education Act, B.E. 2542 and

Amendment (No. 2), B.E. 2545. Office of the Permanent Secretary, Ministry of Education.

Kitti Phakdiwatanakul and Chamlong Kru Utsaha. (1999). Scripture database system. Bangkok : KTP Comp and Consult Company Limited.

Ministerial Regulations on Educational Quality Assurance B.E. 2561 (23 February 2561). Royal Gazette. Volume 135, chapter 11 a, page 3.

Charanit Kaewkangwan. (1993). Database Design and Management, Bangkok: SE-EDUCATION.

Chaiya Phaphabutra. (1999). Database management. Sakon Nakhon : Library and Information Science Program Faculty of Humanities and Social Sciences.

Watcharin Kwanpanung. (2022). Principles of Efficiency and Effectiveness. Accessed from: https://www.gotoknow.org/posts/226830, 21 January 2022.

Office of the Higher Education Commission. (2014). Manual for internal educational quality assurance. Higher Education 2014. Office of the Higher Education Commission.

Office of The Education Council. (2007). Strategic plans of education reform in the three southern border provinces for peace (2005-2008). Bangkok: Office of the Education Council.