วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการทำงานของครูต่างชาติในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมองค์กรในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อศึกษาการทำงานของครูต่างชาติในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เพื่อวิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการทำงานของครูต่างชาติในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิด ด้านวัฒนธรรมองค์กรที่ได้จากการสังเคราะห์แนวคิดของ Saphier and King (1985) Patterson, Purkey and Parker (1986); Taylor (1991); Cavanagh (1997); และ Kaplan and Owings (2013); และแนวคิดด้านการทำงานของครูต่างชาติที่ได้จากการสังเคราะห์ขอบข่ายการทำงาน (TOR) โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 12 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ครูต่างชาติที่ปฏิบัติการสอนวิชาภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ 2 จำนวน 393 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน ค่าสถิติที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ (Tolerance) ค่า Variance Inflation Factor (VIF) ค่าสถิติที่ใช้วัดความเป็นอิสระต่อกันของความคลาดเคลื่อน (Durbin-Watson) และถดถอยพหุคูณแบบปกติ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติวัฒนธรรมองค์กรในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านความหลากหลาย 2) การทำงานของครูต่างชาติในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยการทำงานของครูต่างชาติด้านที่มากที่สุด คือ ด้านการปฏิบัติตน 3) วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการทำงานของครูต่างชาติในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม มากที่สุด คือ ด้านความเป็นเพื่อนร่วมงาน
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้จะทำให้โรงเรียนได้ทราบถึงวัฒนธรรมองค์กรวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการทำงานของครูต่างชาติ และนำผลการวิจัยมาปรับเปลี่ยนระบบการทำงานร่วมกันของครูชาวไทยและ ครูต่างชาติ นอกจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถนำผลการศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของครูต่างชาติมาสร้างคู่มือ เพื่อเป็นแนวทางการทำงานของครูต่างชาติภายในโรงเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. จามจุรีโปรดักส์.
นิติพล ภูตะโชติ. (2560). พฤติกรรมองค์กร (Organizational Behavior). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.
พูนพงษ์ คูนา. (2561). คุณภาพชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อโรงเรียน ของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี].
ภัคพร เจริญลักษณ์. (2561). วัฒนธรรมองค์กรกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพครูของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 [วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร].
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). สรุปข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา ปี 2565. http://www.bopp.go.th/?page_id=1828
Betchoo, N. K. (2015). Managing Workplace Diversity: A Contemporary Context. http://lib.bvu.edu.vn/ bitstream/TVDHBRVT/15790/1/Managing-Workplace-Diversity.pdf
Beyer, J. E. and Marshall, J. (1981). The Interpersonal Dimension of Collegiality. Nursing Outlook, 29(11), 662-665.
Cavanagh, R. F. (1997). The culture and improvement of Western Australian Senior Secondary Schools [Doctoral dissertation in Education, Curtin University of Technology].
Chuchuen, R. (2017). Foreign teacher management system in an English Program: A case study at Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University [Doctoral dissertation, Burapha University].
Closkey B. M. (2018). Cross-Cultural Communication Skills: Avoid these 3 things that annoy your western colleagues.
Gordon, J. R. (1999). Organizational Behavior: A Diagnostic Approach (6th ed.). Prentice Hall.
Hill, M. (2020). Global Etiquete: Time Matters- The Pacific, Asia and the Americas. https://luxebeatmag.com/global-etiquette-pacific-asiaamericas-march/
Kaplan, L. S. and Owings, W. O. (2013). Culture Re-Boot: Reinvigorating school culture to improve student outcomes. Corwin Press.
Kumar, A. (2016). Redefined and Importance of Organizational Culture. Global Journals, 16(4), 15-18.
Lund, J., Boyce, B. A., Oates, R., and Fiorentino, L. (2010). Faculty dispositions: Seeking clarity while looking at muddy waters. Quest, 62(3), 268-286.
Ma, X., Charoenarpornwattana, P., and Svastdi-Xuto, P. (2019). Culture shock experiences of foreign teachers working in a selected private school in Chonburi province, Thailand. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 1(1),54-67.
National Integration Working Group for Workplaces. (2010). Managing Workplace Diversity: A Toolkit for Organizations. NIWGF.
Patterson, J. L., Purkey S. C., and Parker J. V. (1986). Productive School Systems for a Nonrational World. Association for Supervision and Curriculum Development.
Prawadlerdruk, N. (2015). Students’ satisfaction towards Learning Foreign Languages with Teachers at a Private Language School [Doctoral dissertation, Thammasat University].
Saphier, J. and King, M. (1985). Good seeds grow in strong cultures. Educational Leadership, 42(6), 67-74.
Taylor, T. E. (1991). Development of a school valid and reliable school audit [Doctoral dissertation in Education, Iowa State University].