การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ชินวัตร อ่อนสุ่น
อังคณา อ่อนธานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและประเมินประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3)ศึกษาความพึงพอใจจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซ  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักเรียน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซ 2) แบบวัดความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซ


ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การฟังเพลงเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจในบทเพลงและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมองและระบบประสาท ขั้นที่ 2 การตอบสนองต่อเสียงด้วยการเคลื่อนไหวร่างกาย ขั้นที่ 3 การแก้ไขการตอบสนองและการแสดงออกด้วยการสังเกต ขั้นที่ 4 การใช้สัญลักษณ์ทางดนตรีในการนำเสนอประสบการณ์ทางดนตรีที่ผู้เรียนได้รับ 2) กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ 77.11/83.89 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 และความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซของนักเรียนหลังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดของดาลโครซและการจัดการเรียนการสอนในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.94 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.11

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Amarak, S. (1999). Introduction to International Music Theory. Odeonstore.

Buasonte, R. (2009). Qualitative Research in Education. Chulalongkorn University.

Cokhy, L., Abramson R.M., Gillespie, A.E., Wood, D. & York, F. (2001). Teach the twenty - first century. Prentice - Hell.

Fine Arts Department. (2017). 70 years of reign 70 historical pictures of the reign. Fine Arts Department.

Lawan, S. (2013). Analysis of Pleng monprajamban style Khong Mon Wong Yai of Mr.Prathom Nakpee. [Thesis M.Ed.]. Naresuan University.

Madsen. (1977). Development of the Self-Directed Learning. Readiness.

Mead, V.H. (1994). Dalcroze Eurhythmics in Today’ s Music Classroom. Schott Music.

Nakwong, T. (1999). Teaching music for children Based-on Orff-Schulwerk. Kasetsart University Press.

Sastra, U. (2018). Thai Musical Creativity: Trend and Guidelines for Instruction. Journal of Education Studies Chulalongkorn University. 46(4), 554 – 569.

Sungkhow, P. (2008). The Satisfaction of Students Who Used the Library Services at Sripatum University. [Thesis M.B.A.]. Phranakhon Rajabhat University.

Suttachitt, N. (2022). Music Education. Chulalongkorn University.

Suwun, S. (2006). Music in Thai culture. Chulalongkorn University Press.