นวัตกรรมการจัดการความร่วมมือเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนา สถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า

Main Article Content

กิตติพงษ์ โสภาพงษ์
ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ
ฐิติมา โห้ลำยอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษามุมมอง ประสบการณ์ ในความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อบรรยากาศความร่วมมือเพื่อการพัฒนาสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า 3) เพื่อค้นหาแนวทางความร่วมมือที่เป็นนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า การวิจัยนี้ดำเนินตามกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ อาศัยแนวคิดของ McGuire, 2006 เป็นกรอบแนวคิดการวิจัย ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก พื้นที่การวิจัย คือ สถานที่ปฏิบัติงานของผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยแบ่งเป็น 7 กลุ่ม จำนวน 14 คน เป็นผู้บริหารหรือผู้ประสานหลักของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสมาคมวิธีการคัดเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง (Purposive Sampling) อาศัยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกระบวนการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic Analysis) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1.แนวทางความร่วมมือของสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าเป็นรูปแบบการร่วมลงทุนในทรัพยากรที่แต่ละฝ่ายมีความพร้อมและเชี่ยวชาญ การคัดสรรคู่ค้าต้องมีคุณสมบัติที่โดดเด่นและเป็นมืออาชีพในสายงานที่ตนเองต้องการเพื่อประโยชน์ด้านการตลาด รูปแบบความร่วมมือส่วนใหญ่เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน 2.ปัจจัยที่เอื้อต่อบรรยากาศความร่วมมือมากที่สุด ได้แก่ ปัจจัยการส่งเสริมและสนับสนุนจากนโยบายของภาครัฐ รองลงมาได้แก่ ปัจจัยทางเศรษฐกิจด้านสินเชื่อเพื่อการลงทุน 3.นวัตกรรมเพื่อความร่วมมือในการพัฒนาสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ การจัดการรูปแบบที่เป็นเอกภาพในการจัดการข้อมูลเพื่อบริการของสถานีและการจัดการผลตอบแทน การจัดการด้านสินเชื่อในรูปแบบ “กองทุนเพื่อการจัดการและพัฒนาสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า” และพัฒนาด้านการเพิ่มช่องทางการสื่อสารข้อมูลสถานีและความต้องการให้เกิดสถานีในระหว่างเส้นทางเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจ. (2559). การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2565, จาก https://www.bangkokbiznews.com/blogs/columnist/112041

การไฟฟ้าภูมิภาค. (2563). มาตรฐานคุณภาพบริการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2565, จาก https://www.pea.co.th/Portals/0/Document/Workstandard/standardmix_2564_1.pdf

ชัยรัตน์ พันธุ์อาจ. (2547). บทนำเบื้องต้นของการจัดการนวัตกรรม. การจัดการนวัตกรรมผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ.

ฐานเศรษฐกิจ. (2565). สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ปัจจัยใหม่ เลือกซื้อ บ้าน-คอนโด. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2565, จาก https://www.thansettakij.com/property/531406

ไทยพีบีเอส. (2565). เปิดสถิติเทคโนโลยียานยนต์พลังงานไฟฟ้าในไทย. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2565, จาก http://news.thaipbs.or.th/content/312252

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2565). ไขวิกฤตน้ำมันแพงผ่านเลนส์นักเศรษศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2565,จาก https://tu.ac.th/thammasat-010765-solving-the-high-oil-crisis-economist

ยศพงษ์ ลออนวล และคณะ. (2558). การศึกษาพัฒนาของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าและผลกระทบที่เกิดขึ้นสำหรับประเทศไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ.

รชฎ เลียงจันทร์. (2565). รถยนต์ไฟฟ้า: ความต้องการและโอกาสที่กำลังมาถึง. สืบค้นเมื่อ 22 ตุลาคม 2565,จาก https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/ev-servey-22

สหประชาชาติในประเทศไทย. (2565). เป้าหมายที่ 7 การพัฒนาที่ยั่งยืน พลังงานสะอาด ราคาถูก จัดให้มีพลังงานที่ทันสมัย ยั่งยืน สเถียร และราคาไม่แพงสำหรับทุกคน. สืบค้นเมื่อ 4 สิงหาคม 2565, จาก https://thailand.un.org/ht/sdgs/7

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2555). แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2555-2573. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565, จาก http://www. eppo.go.th/power/PDP2010-r3/PDP2010-Rev3-Cab19Jun2012-T.pdf

Daft, R. L. (2013). Management. Ohio: Cengage Learning.

HR NOTE Asia. (2565). การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 คืออะไร: ผลกระทบ ความท้าทายและบทบาทสำคัญของ HR. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565, จาก https://th.hmote.asia/lips/industrial-revolution-4ir-2018/

McGuire, M. (2006). Collaborative Public Management: Assessing What We Know and How We Know It. Public Administration Review, 66, 33-43.

Utterback, J. (2004). The dynamics of Innovation. Educause Review, 39,42-51.