ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

พิมพ์ผกา ศิริหล้า
ภาวิณี โสธายะเพ็ชร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม รูปแบบการวิจัยเป็นการทดลอง ใช้แนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร (ฝ่ายประถม) กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 60 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ 2) แบบประเมินเชิงพฤติกรรมเพื่อวัดความสามารถการคิดเชิงประยุกต์ และ 3) แผนการจัดการเรียนการสอนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายขั้นตามความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ พบว่า ทุกขั้นตอนของความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพียงอย่างเดียว
2. หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ผลการวิจัยนี้อาจเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปได้ และจะช่วยในการพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงประยุกต์เพื่อตอบสนองนโยบายประเทศไทยในการเตรียมพลเมืองสู่ศตวรรษที่ 21

Article Details

How to Cite
ศิริหล้า พ., & โสธายะเพ็ชร ภ. . (2024). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(4), 2085–2100. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/267523
บท
บทความวิจัย

References

Chamtrakul, W. (2017). A Comparison of Learning Achievements of Prathom Suksa 4 Students at Tubthong School on Astronomy and Space by Using a STEM Educational Management Method. Ramkhamhaeng University.

Daehler, K., & Folsom, J. (2016). Making Sense of SCIENCE: Phenomena-Based Learning. Retrieved from: http://www.WestEd.org/mss

Hopkins Public School. (2016a). STEM Curriculum. [Online], Available: https://www.hopkinsschools.org/servicesdepartments/teaching-learning-assessment/curriculum-areas/stem-curriculum. (2016, 31 July).

Israsena Na Ayutthaya, W. (2017). Things to know about STEM Education. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Khaemani, T. (2012). Graduate Studies in the 21st Century: Curriculum and Teaching Adjustment. Copies of documents.

Khaemani, T. (2012). Supporting documents for academic conferences. "Apiwat Learning...to a turning point in Thailand". Bangkok: Office of Social Promotion of Learning and Youth Quality.

Livescience. (2016). What is STEM Education?. [Online], Available: http://www.livescience.com/43296-what-is-stem-education.html. (2016, 30 July).

Mahawijit, P. (2017). Education innovation from Finland. IPST magazine.

Mahawijit, P. (2019). Application of Phenomenon-Based Learning Concepts with Proactive Learning in Elementary Education to Enhance Learning Skills in the 21st Century. Journal of Education. Khon Kaen University, 73-90.

Royal Institute (2013). Royal Institute Dictionary 2011. (2nd edition). Bangkok: Nanmee Books Publication.

Sahlberg, P. (2011). Finnish lessons: What can the world learn from educational reform in Finland?. New York: Teachers College pass.

Silander, P. (2015). Phenomenon Education. Retrieved April 18, 2019 from

http://www.phenomenoneducation.info/phenomenon-based-learning.html

Siriphattrachai, P (2013). STEM Education and skills development in the 21st century. Srinakharinwirot University Administrative Journal, 49-56.

Srisaard, T. (2011). Preliminary research. (9th edition). Bangkok: Suweeriyasan.

Poomkhun, C. (2010). A Comparison of Learning Achievement and Applied Thinking Ability on Changes in the World, Science Learning Subject Group of grade 4 students learning by using the Creative Knowledge Teaching Method and the Six Hats Thinking Method. Lop Buri: Thepsatri Rajabhat University.

Taweerat, P. (1995). Research methods in behavioral and social sciences. Bangkok: Bureau of Educational and Psychological Testing. Srinakharinwirot University Prasarnmit.

Wiriya, P. (2018). Presentation of teaching activities on current world events for high school students. Silpakorn University

Zhukov, T. (2015). Phenomenon-Based Learning: What is PBL Retrieved May 22,

, from http://www.noodle.com/articles/phenomenon-based-learning-

what-is-pbl.