การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือแฝงโดยนักเรียนที่ได้รับการอบรมและผู้ตรวจลายนิ้วมือแฝง

Main Article Content

พชรพร ศรีสุวรรณ
ศิริรัตน์ ชูสกุลเกรียง
ศุภชัย ศุภลักษณ์นารี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการตรวจพิสูจน์รอยลายนิ้วมือแฝงระหว่างนักเรียนที่ได้รับการอบรมกับผู้ตรวจลายนิ้วมือแฝง ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดของ Thompson (2012) เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 7 จังหวัดนครปฐม โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่ได้รับการฝึกอบรมด้านนิติวิทยาศาสตร์เบื้องต้น จำนวน 300 คน และผู้ตรวจลายนิ้วมือแฝงของสำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ 5 คน การทดสอบแบ่งออกเป็นการทดสอบเบื้องต้นและการทดสอบเชิงลึก ในการตรวจจุดลักษณะสำคัญพิเศษของรอยลายนิ้วมือแฝง โดยแบบทดสอบเบื้องต้นให้ผู้เข้ารับการทดสอบตรวจลายนิ้วมือแฝงแบบเลือกคำตอบ 4 ตัวเลือก ในการตรวจรอยลายนิ้วมือแฝงจำนวน 10 ข้อส่วนแบบทดสอบเชิงลึกได้คัดเลือกผู้เข้ารับการทดสอบที่ทำคะแนนในแบบทดสอบเบื้องต้นได้เต็มมาแบบอิสระ ทำการสุ่มเลือกนักเรียนที่ได้รับการฝึกอบรมมา 5 คนและผู้ตรวจลายนิ้วมือแฝง 5 คน ผลการวิจัยพบว่านักเรียนที่ได้รับการฝึกอบรมสามารถทำแบบทดสอบลายนิ้วมือแฝงเบื้องต้นได้ถูกต้องทุกข้อเป็นจำนวน 110 คน (36.67 %) ในขณะที่ผู้ตรวจลายนิ้วมือแฝง ทั้ง 5 คน ทำแบบทดสอบได้ถูกต้องทุกข้อ (100 %) และเมื่อใช้แบบทดสอบแบบเชิงลึกในการตรวจจุดลักษณะสำคัญพิเศษของรอยลายนิ้วมือแฝง พบว่านักเรียนที่ได้รับการฝึกอบรมที่ทำคะแนนได้มากที่สุดนั้นตรวจรอยลายนิ้วมือแฝงถูกเป็นจำนวน 5 รอย (62.5%) ในขณะที่ผู้ตรวจลายนิ้วมือแฝงทั้ง 5 คน ตรวจรอยลายนิ้วมือแฝงได้ถูกต้องทั้งหมด 8 รอยทุกคน (100%) ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่าประสบการณ์ในการตรวจรอยลายนิ้วมือแฝงมีผลต่อการตรวจพิสูจน์รอยลายนิ้วมือแฝง สามารถทำให้ปฏิบัติงานตรวจพิสูจน์ได้ถูกต้องและแม่นยำ เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการยุติธรรม

Article Details

How to Cite
ศรีสุวรรณ พ., ชูสกุลเกรียง ศ., & ศุภลักษณ์นารี ศ. (2024). การศึกษาเปรียบเทียบการตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือแฝงโดยนักเรียนที่ได้รับการอบรมและผู้ตรวจลายนิ้วมือแฝง. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(3), 1243–1259. https://doi.org/10.14456/jeir.2024.75
บท
บทความวิจัย

References

Boonlert, J. (2022). Comparison of Latent Fingerprint Quality on Various Types of Paper Using Ninhydrin and Indanedione Followed by Ninhydrin. Journal of Criminology and Forensic Science, 8(1), 62-75. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/forensic/article/view/252775

Busey, T. A., & Vanderkolk, J. R. (2005). Behavioral and electrophysiological evidence for configural processing in fingerprint experts. Vision Research, 45(4), 431-448. https://doi.org/10.1016/ j.visres.2004.08.021

Castello, A., Francés, F., & Verdú, F. (2013, 09/01). Solving underwater crimes: Development of latent prints made on submerged objects. Science & justice : journal of the Forensic Science Society, 53, 328-331. https://doi.org/10.1016/j.scijus.2013.04.002

Darshan, G. P., Prasad, B. D., Premkumar, H. B., Sharma, S. C., Kiran, K. S., & Nagabhushana, H. (2023). 20 - Fluorescent quantum dots as labeling agents for the effective detection of latent fingerprints on various surfaces. In N. Thejo Kalyani, S. J. Dhoble, M. Michalska-Domańska, B. Vengadaesvaran, H. Nagabhushana, & A. K. Arof (Eds.), Quantum Dots (pp. 539-574). Woodhead Publishing. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/B978-0-323-85278-4.00006-4

Marriott, C., Lee, R., Wilkes, Z., Comber, B., Spindler, X., Roux, C., & Lennard, C. (2014, 2014/03/01/). Evaluation of fingermark detection sequences on paper substrates. Forensic Science International, 236, 30-37. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/j.forsciint.2013.12.028

Stevenage, S. V., & Pitfield, C. (2016, 2016/10/01/). Fact or friction: Examination of the transparency, reliability and sufficiency of the ACE-V method of fingerprint analysis. Forensic Science International, 267, 145-156. https://doi.org/https://doi.org/10.1016/j.forsciint.2016.08.026

Thompson, M. B., & Tangen, J. M. (2014). The nature of expertise in fingerprint matching: experts can do a lot with a little. PLoS One, 9(12), e114759. https://doi.org/10.1371/journal.pone.0114759