อนาคตภาพการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564–2573)

Main Article Content

กาญจนา ศึกหาญ
วัน เดชพิชัย
สุจิตรา จรจิตร

บทคัดย่อ

               งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอนาคตภาพการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564–2573) 2) ศึกษาแนวทางการนำอนาคตภาพการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564–2573) ไปสู่การปฏิบัติ การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะคือ ใช้เทคนิค EDFR 3 รอบ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และนักวิชาการ 17 คน และการจัดสนทนากลุ่ม ผลวิจัยพบว่า 1) อนาคตภาพการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564–2573) มี 7 ประเด็น ได้แก่ บทบาทหน้าที่ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการนิเทศ ขอบข่ายการนิเทศ วิธีการหรือช่องทางการนิเทศ กลยุทธ์การนิเทศ การบริหารจัดการนิเทศ โครงสร้างของหน่วยงานการนิเทศ และปัญหาการนิเทศ 2) แนวทางการนำอนาคตภาพการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564–2573) ไปสู่การปฏิบัติดังนี้ กระทรวงศึกษาธิการควรกำหนดนโยบายให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ขอบข่ายการนิเทศได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร Block Course, Sandbox วิธีการหรือช่องทางการนิเทศแบบผสมผสาน กลยุทธ์การนิเทศแบบจิตอาสา การบริหารจัดการนิเทศใช้การวิจัยเป็นฐาน สำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอควรมีโครงสร้างหน่วยงานการนิเทศ และปัญหาการนิเทศได้แก่ ความแตกต่างระหว่างบริบทของพื้นที่


          องค์ความรู้ที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้นิเทศที่ได้แนวทางการนำอนาคตภาพการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564–2573) ไปสู่การปฏิบัติ

Article Details

How to Cite
ศึกหาญ ก., เดชพิชัย ว., & จรจิตร ส. (2024). อนาคตภาพการนิเทศการศึกษาสำหรับโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2564–2573). วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 8(4), 1922–1938. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/265100
บท
บทความวิจัย

References

Carl D. Glickman and Other. (2001). Supervision of Instruction: Developmental Approach.

(4thed.) Boston: Allyn and Bacon.

Chana Summat. (2013). The Development of Educational Supervision Administration Model for the Educational Service Area Office in the Special Development Zone in the Three Southern Border Provinces. Dissertation for Doctoral of Education in Education, Narasuan University, Phitsanulok.

Chanpim Wongpracharat. (2013). The Model of Educational Supervision by the External Panel in the Basic Education School Board. Dissertation for Doctor of Philosophy, Silpakorn University, Nakhon Pathom.

Christopher, M. (2015). Relationship Marketing: Bringing Quality, Customer Service and

Marketing Together. Oxford: Butterworth.

Conn, S.R., Roberts, R.L., and Powell, B.M. (2009). Attitudes and Satisfaction with

a Hybrid Model of Counseling Supervision. Educational Technology & Society,

(2), 298-306

Diksha Kashyap. (2020). Top 10 Features of Modern Supervision/Educational

Management, from http://www.taap.co.th/product/bwell/?utm_source

Educational Administration and Coordination Center for the Southern Border Provinces. (2017). The 20-Year Educational Strategic Plan for Special Development Zones in the Southern Border Provinces (B.E. 2560-2579). Educational Administration and Coordination Center for the Southern Border Provinces, the Ministry of Education.

Panadda Komanee. (2013). Future Research: Trends in English Teaching Curriculum for Thai Primary Level in the Next Decade Using the EDFR Technique. Research and Evaluation Journal of Research and Evaluation. 2. (2), 6.

Pantira Suppakarn. (2014). A Model of Educational Supervision Management for the 21st Century. Dissertation for Doctor of Philosophy, Silpakorn University, Nakhon Pathom.

Penwipa Promsuwan. (2014). Future Scenarios of Supervision for Basic Educational Schools in the Next Decade (B.E.2556-2565). Dissertation for Doctoral of Education in Education, Chiang Rai Rajabhat University, Chiang Rai.

Watchara Laoriandee. (2010). Supervision of Instruction. Nakhon Pathom: Silpakorn University.