การศึกษาสถานภาพการดูแลเด็กเล็ก กรณีศึกษาสถานรับเลี้ยงเด็ก/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่ดำเนินการในสังคมไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสถานภาพการดำเนินการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังคมไทย และ 2) ศึกษาแนวทางการสนับสนุน ส่งเสริมการดูแลเด็กเล็กของศูนย์ ฯ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลในพื้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 8 แห่ง การสังเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ครูผู้ดูแล เจ้าหน้าที่ในสังกัดที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้บริหารศูนย์ ฯ และผู้ปกครอง
ผลการศึกษาพบว่า การดำเนินการขับเคลื่อนและพัฒนาเด็กปฐมวัยในสังคมไทย มีความร่วมมือการดำเนินงานระหว่าง 4 กระทรวง ประกอบด้วย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้การดูแลของหน่วยงานโดยเฉพาะในแต่ละช่วงวัย 0-5 ปี โดยการดำเนินการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5 ศูนย์ ฯ มีนโยบายแนวทางการสนับสนุน กำกับการดูแลการดำเนินงานแตกต่างกัน ภายใต้การสังกัดหน่วยงานที่แตกต่างกัน และ 3 ศูนย์ ฯ ที่ไม่สังกัดหน่วยงาน ใช้แนวทางการดำเนินการภายใต้นโยบายของภาครัฐกำกับการดำเนินการโดยไม่ได้รับการสนับสนุนใด ๆ จากหน่วยงาน
ข้อค้นพบและข้อเสนอแนะ 1.การดำเนินการของศูนย์ ฯ ที่จัดตั้งขึ้นในแต่ละพื้นที่เอื้ออำนวยการดูแล การสร้างเสริมความเข้มแข็งของเด็ก ๆ ในพื้นที่ 2.การดำเนินการของศูนย์ ฯ สร้างประโยชน์ต่อแรงงานสตรีในพื้นที่ได้อย่างชัดเจน 3.นโยบายการสนับสนุนของหน่วยงานที่สังกัด มีความแตกต่างกัน มีจุดอ่อน จุดแข็งที่แตกต่างกัน แต่มีส่วนเอื้อที่สำคัญในการแบ่งเบาภาระผู้ปกครอง และสนับสนุนการดูแลเด็กเล็ก 4.แนวทางการสนับสนุน หน่วยงานที่สังกัดควรมีแนวทางสนับสนุนในรูปแบบอื่น ๆ เพิ่มขึ้น นอกไปจากการสนับสนุนการจัดตั้ง การจดทะเบียนที่ถูกต้อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Department of Children and Youth. (2018). Online Assessment of Early Childhood Development Centre 2018 Ministry of Social Development and Human Security. Department of Children and Youth.
Department of Local Administration Ministry of Interior. (2010). Early Childhood Development Standard Implementation of Local Administration. Department of Local Administration Ministry of Interior.
Department of Local Administration. (2002). Education policy of Department of Local Administration for 15 years (2002-2016). Agricultural Assembly of Thailand Ltd.
Noommesri, A. (2013). Development guidelines for Early Childhood Education of Child Development Centre in area of Nhong Bua, Nakornsawan Province[Master’s Thesis, Chulalongkorn University].
Office for National Education Standards and Quality Assessment (Public Organization). (2011). External Assessment Guide 3rd (2011-2015) Early Childhood Level (2-5 years) Academic edited pattern November 2011. Office for National Education Standards and Quality Assessment.
Office of the Basic Education Commission Ministry of Education. (2017). Early Childhood Education Curriculum 2017. The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.
Poolpat, J. (2004). Early Childhood Development Centre. Professional Qualification Institute
Sripen, P. and Noichan, N. (2014). Study of Early Childhood Development Centre Operation for Tha-Nung, Photalay, Pijit Province Subdistrict Administrative Organization. Journal of Graduate Studies in Northern Rajabhat Universities, 4(7), 117-129.
Sukhothai Thammathirat Open University. (1999). Document of managing centre and Early Childhood Education School unit 1-7 (3rd). Prachachon.
Tangjitcharoenkul, R. (2019). Development of a collaborative network model to increase the quality of educational provision. Early childhood level of the Child Development Center Under local administrative organizations: Participatory action research [Research Report, Suan Dusit University].