การเรียนรู้เชิงรุก: แนวทางการเรียนการสอนที่เป็นเลิศในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
สถานการณ์โลกในศตวรรษที่ 21 มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรปรับตัวในโลกอนาคต การเรียนรู้เชิงรุก “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” โดยให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้ ความรู้
มีทักษะ มีคุณธรรมและจริยธรรมมากขึ้น และสามารถปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างเหมาะสม โดยมีการนำแนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกไปพัฒนาการคิดเชิงระบบ และเป็นรูปธรรมในลักษณะของการเรียนแบบมีการปฏิสัมพันธ์ในการเรียนการสอนร่วมกันทั้งการเรียน การสร้างองค์ความรู้ การลงมือปฏิบัติด้วยจริง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนไปปรับโครงสร้างเพิ่มเวลาเรียนรู้
จัดกิจกรรมการสอนทุกระดับทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน หรือทางออนไลน์ เพื่อเข้ากับบริบทของผู้เรียนอย่างเหมาะสม และสามารถพัฒนาให้เกิดสัมฤทธิ์ผลในกำหนดช่วงเวลาของกระบวนการเรียนรู้ในทุกระดับ โดยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดขั้นสูง ผ่านกระบวนการคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ การสร้างสรรค์ และเข้าใจในเชิงลึกในสถานการณ์ต่าง ๆ จนผู้เรียนสามารถปรับตัวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์และพัฒนาคุณภาพชีวิตของตน และสังคมส่วนรวมได้อย่างแท้จริง
จึงกล่าวได้ว่าแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เป็นเลิศในศตวรรษที่ 21 ผ่านการเรียนรู้เชิงรุกเป็นการออกแบบการจัดการเรียนการสอนของผู้สอนเพื่อขยายขอบเขตความรู้จากการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเสนอสิ่งที่ผู้เรียนสนใจอย่างแท้จริง ผ่านวิธีการหรือการออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีการกำหนดอย่างเป็นขั้นตอน ประกอบด้วย การกำหนดเป้าหมายในสิ่งที่ผู้เรียนจะต้องทำ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ การสะท้อนความรู้ ภายใต้ การคิด การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การมีส่วนร่วม ผู้เรียนจะเกิดประสบการณ์ และผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กนกวรรณ ฉัตร์แก้ว และศรีสมร พุ่มสะอาด. (2564). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคประเทศไทย 4.0 ของครูระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 136-151.
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2560). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564, จากhttp://www.libarts.up.ac.th/v2/ img/Thailand-4.0.pdf 20/6/2562
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. (2559). การเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). สารแพทยศาสตรศึกษา มอ.,(1), 2-4. https://meded.psu.ac.th
ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงการสร้างชุดความรู้เพื่อสร้างเสริมทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จากประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ. (2551). การเรียนเชิงรุก (Active learning). สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564, จาก http://pirun.ku.ac.th/
นนทลี พรธาดาวิทย์. (2561). การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
บุหงา วัฒนะ. (2546). Active learning. วารสารวิชาการ, 10(9), 30 -34.
ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ. (2551). การเรียนเชิงรุก (Active Learning). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรทิพย์ วงศ์ไพบูลย์. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning). วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), 327-336.
วัชรพล วิบูลยศริน. (2557). นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วารินท์พร ฟันเฟื่องฟู. (2562). การจัดการเรียนรู้ Active Learning ให้สำเร็จ. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(1), 135-145.
ศักดา ไชกิจภิญโญ. (2548). สอนอย่างไรให้ Active Learning. นวัตกรรมการเรียนการสอน, 2(2), 12-15.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุกหน่วยศึกษานิเทศก์. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564, จากhttp://academic.obec.go.th/images/document/1603180137_d_1.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2564, จาก http://www.sesa17.go.th/site/images/Publish2.pdf
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557). สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 186, 3–5.
สุรไกร นันทบุรมย์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้แบบผสานวิธีห้องเรียนกลับด้าน พื้นที่การเรียนรู้ และการเรียนรู้เชิงรุก. วารสารห้องสมุด, 61(2), 45-63.
Bonwell, C.C. and Eison, J.A.. (1991). Active Learning Creating Excitement in The Classroom. ASHEERIC Education Report No.1, Washington, D.C.: The George Washington University, School of Education and Human Development.
Felder, R. & Brent, R. (1996). Navigating the Bumpy Road to Student-Centered Instruction. Journal of College Teaching, 44(2), 43-47.
Gifkins, J. (2015). What Is ‘Active Learning’ and Why Is It Important? E-international relations. Retrieved January 23, 2021, from http://www.eir.info/2015/10/08/what-is-active learning-and-why-is-it-important
Mckinney, S. E. (2008). Developing teachers for high-poverty schools: The role of the internship experience. Urban Education, 43(1), 68-82.
Meyers, Chet & Jones, Thomas. B. (1993).Promoting Active Learning: Strategies for the College Classroom. San Francisco: Jossey-Bass.
Shenker, J. I., Goss, S. A. & Bernstein, D. A. (1996). Instructor’s Resource Manual for Psychology: Implementing Active Learning in the Classroom. Retrieved January 23,2021, from http://s.psych/ uiuc,edu/~jskenker/active.html
Silberman, M. (1996). Active Learning: 101 Strategies to Teach Any Subject. Allyn and Bacon: Boston.