สมรรถนะของผู้บริหารที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ ของข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน

Main Article Content

กิตติกานต์ ศรียา
กนิษฐา แย้มโพธิ์ใช้

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 2) ศึกษาปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล และสมรรถนะของผู้บริหาร สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 3) ศึกษาเปรียบเทียบแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนกับปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะของผู้บริหาร ฅกับแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป จำนวน 134 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการปฏิบัติราชการอยู่ในภาพรวมอยู่ระดับมาก 2) สมรรถนะของผู้บริหารในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการไม่แตกต่างกัน 4) สมรรถนะของผู้บริหาร ทั้ง 6 ด้านมีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการอย่างมีนัยสำคัญเชิงสถิติ  ที่ระดับ .01


ผลการวิจัยนี้นำมาเป็นข้อมูลในการพัฒนาสมรรถนะของผู้บริหารให้สอดคล้องกับสมรรถนะของผู้บริหารตามที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนกำหนดและนำไปพัฒนาสมรรถนะที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนและส่วนราชการอื่น

Article Details

How to Cite
ศรียา ก., & แย้มโพธิ์ใช้ ก. (2022). สมรรถนะของผู้บริหารที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ ของข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ ส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 905–920. https://doi.org/10.14456/jeir.2022.23
บท
บทความวิจัย

References

กันยารัตน์ ทองมาก. (2562). การศึกษาแรงจูงใจที่มีต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 9(2), 290-327.

เจษฎา นกน้อย. (2560). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บรรณสรณ์ นรดี. (2563). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ในจังหวัดสระแก้ว. วารสารวัตกรรมทางการศึกษาและการวิจัย,4(3), 305-317.

ปรานีต จินดาศรี สุรัตน์ ไชยชมภู และสมุทร ชำนาญ. 2560 ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ในจังหวัดสระแก้ว. วารสารวิชาการ มรภ.บุรีรัมย์, 9(1),113-136.

ไพรัช มโนศรี. 2561. แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์,1(2),33-42.

รัศมี วังคีรี. (2557). บทบาทของผู้บริหารในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพฯ. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย,28(9), 22-30.

วิเชียร วิทยอุดม. (2564). ทฤษฎีองค์การ ฉบับแนวใหม่. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธ์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2552). คู่มือสมรรถนะหลัก: คู่มือสมรรถนะทางการบริหาร. นนทบุรี: สำนักงานงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดสมรรถนะในกราชการพลเรือน : คู่มือสมรรถนะหลัก. นนทบุรี: สำนักงานงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). กำลังคน (ภาครัฐ) ในศตวรรษที่ 21. วารสารข้าราชการ, 62(2), 4.

อภิณัฏฐ์ ทรัพย์มาก และเนตรนภา ไวย์เลิศศักดิ์ (ยาบุชิตะ). (2559). ปัจจัยจูงใจในการเลือกอาชีพรับราชการก่อนและหลังการประกาศใช้ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551: กรณีศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 11(1), 83-97.