การปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Main Article Content

รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์
วิษณุ เพ็ชรไทย
พีรยา เศรษฐพัฒน์
ใกล้รุ่ง กระแสร์สินธุ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้ทฤษฎีการปรับตัวของรอยเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จำนวน 250 คน ใช้วิธีคัดเลือกตัวอย่างที่ใช้ความน่าจะเป็น (Probability Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ Independent Sample t-test และ One-Way ANOVA (F-test) และ
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Person Correlation)  ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับตัวแปรที่สามารถทำนายความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คือ ศักยภาพในการปรับตัวด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (X3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ 1.002 หมายความว่า หากผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีศักยภาพในการปรับตัวด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (X3) เพิ่มขึ้น 1 หน่วย จะมีผลทำให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีการปรับตัวเพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มขึ้น 1.002 หน่วย

Article Details

How to Cite
กระแสร์สินธุ์ ร. ., เพ็ชรไทย ว., เศรษฐพัฒน์ พ., & กระแสร์สินธุ์ ใ. (2023). การปรับตัวของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 . วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 260–274. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.18
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. (2563ก). คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 สำหรับประชาชน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมควบคุมโรค. กระทรวงสาธารณสุข. (2563ข). รายงานโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ และ กิตติศักดิ์ อังคะนาวิน, (2561). รูปแบบการพัฒนาการประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ส่งผลต่อความสำเร็จในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 23(3), 151-164.

ประภาพร ดีสุขแสง และ พนมสิทธิ์ สอนประจักษ์. (2564). การปรับตัวของร้านอาหารริมบาทวิถี (STREET FOOD) ช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์.โครงการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 วันที่ 1 เมษายน 2564, จัดโดยมหาวิทยาลัยนเรศวร. หน้า 114-131.

ยงยุทธ แฉล้มวงษ์, สมชัย จิตสุชน และ เกศินี ธารีสังข์. (29 มิถุนายน 2563). ผลกระทบโควิด-19 ต่อตลาดแรงงานไทย: ข้อมูลเชิงประจักษ์. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://tdri.or.th/ 2020/06/covid-19-labour-market-impact-in-thailand/

ศลิษา รกรากทอง, ธนายุต วรมนูชัย, ปณิสา กลับวิหค, พิชญาณี สุปันตี, และ พิทักษ์ ศิริวงษ์. (2564). การปรับตัวของธุรกิจคาเฟ่ร้าน 111 Social Club เพื่อรองรับสถานการณ์โควิด-19 ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564.จัดโดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้. หน้า 252-265.

ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ.(2563). โรคระบาดไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19): ผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยและกลยุทธ์ในการฟื้นฟูกิจการ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(2),9-25.

อาชนัน เกาะไพบูลย์ และ เพ็ชรธรินทร์ วงศ์เจริญ. (2563). การปรับตัวของผู้ประกอบการท่ามกลางCOVID-19: บทวิเคราะห์ข้อมูล Survey. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://wayma gazine.org/covidpolicy-brief-3

Cochran, W.G.(1977). Sampling Techniques. 3rd ed. New York : John Wiley and Sons Inc.

Cronbach, L.J.(1990). Essentials of Psychology Testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers Inc.

Roy, C. (1976). Introduction to nursing: An adaptation model. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.