ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมในศูนย์บริการสุขภาพ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

Main Article Content

วิไลลักษณ์ ตียาพันธ์
วรจรรฑญาร์ มงคลดิษฐ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์1) ศึกษาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมในศูนย์บริการสุขภาพโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 2) ศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมในศูนย์บริการสุขภาพโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมในศูนย์บริการสุขภาพโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ รูปแบบการวิจัย เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมที่มีอายุ 60 ปี
ขึ้นไป จำนวน 182  คน ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยแบ่งชั้นภูมิตามศูนย์บริการสุขภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือสำหรับคัดกรองกลุ่มตัวอย่าง ใช้แบบคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 9 คำถาม (9Q) และแบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai 2002) และ 2) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อม มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง


ผลการวิจัยพบว่า ความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมโดยรวมอยู่ในระดับก้ำกึ่ง
(ร้อยละ 49.50, 95% CI: 42.10-56.80) พฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับปานกลาง (ร้อยละ 54.40)
และความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุข้อเข่าเสื่อมโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.26, p<0.05)


ผลการศึกษานี้ ชี้ให้เห็นว่า ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพในระดับเพียงพอจะมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดี ดังนั้นบุคลากรทางการแพทย์ควรมีการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดแนวทางและจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับระดับการรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมให้มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้องเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2557). คู่มือประเมินความฉลาดทางสุขภาพของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ในการปฏิบัติตามหลัก 3อ.2ส. (The ABCDE-health literacy scale for Thai adult). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กิจปพน ศรีธานี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 11(1), 26-36.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และดวงเนตร ธรรมกุล. (2558). การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9(2), 1-8.

เบญจมาศ สุรมิตรไมตรี. (2556). การศึกษาความฉลาดทางสุขภาพ และสถานการณ์การดำเนินงานสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาพของคนไทยเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. สืบค้นวันที่ 24 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.mfa.go.th/dvifa/conents/filemanager/files/

ยุวดี สารบูรณ์, สุภาพ อารีเอื้อ และสุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ. (2557). อาการ ความรู้ และการรับรู้ความเจ็บป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน: การศึกษานำร่อง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 30(2), 80-90.

ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย. (2554). แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการจัดทำแนวทางเวชปฏิบัติโรคข้อเข่าเสื่อม ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย.

วรรณศิริ นิลเนตร. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้สูงอายุไทยในชมรมผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2550). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แสงเดือน กิ่งแก้ว และนุสรา ประเสริฐศรี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางด้านสุขภาพและภาวะสุขภาพให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังหลายโรค. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(1), 53-62.

เสาวนีย์ สิงสา. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในเขตเทศบาลตำบลแพรกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยประยุกต์ทฤษฎีการพยาบาลของคิง (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล, ธีระ ศิริสมุด, แก้วกุล ตันติพิสิฐกุล, ยศ ศิระวัฒนานนท์ และลี่ลิ อิงศรีสว่าง. (2556). รายงานผลการศึกษาเบื้องต้น โครงการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ. สืบค้นวันที่ 1 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.hitap.net/wp-content/uploads/2014/09/prelim_elderlysurvey.pdf

อังศินันท์ อินทรกำแหง.(2560).ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: การวัดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สุขุมวิทการพิมพ์.

อังศุมาลิน บัวแก้ว. (2554). การดูแลสุขภาพด้วยตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนจากครอบครัวที่มีผลต่อพฤติกรรม สุขภาพของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมอำเภอลอง จังหวัดแพร่ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Berkman, N.D., Davis, T.C. & McCormack L. (2015). Health Literacy: What Is It. Journal of Health Communication, 15 (Suppl.2), 9-19.

Bostock, S. & Steptoe, A. (2012). Association between low functional health literacy and mortality in older adults: longitudinal cohort study. BMJ (Clinical Research Ed.), 344,e1602.

Cooper, C., Denni, E., Edwards, M. & Litwic, A. (2013). Epidemiology of osteoarthritis. Medicographia, 35(2), 147.

Gazmararian, J.A., Williams, M.V., Peel, J. & Baker, D.W. (2007). Health literacy and knowledge of chronic disease. Patient Education and Counseling, 51(3), 267-275.

Nutbeam,D. (2008). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and communication strategies into the 21st century. Health PromotionIntervention, 15(3), 259-267.

Nutbeam, D. (2009). Defining and measuring health literacy: what can we learn from literacy studies. Journal of Public Health, 54(5), 303-305.

Rootman, I. & Gordon-El-Bihbety, D. (2013). A vision for a health literate Canada: Report of the expert panel on health literacy. Ottawa, O.N.: Canadian Public Health Association.

Sudore, R.L., Mehta, K.M., Simonsick, E.M., Harris, T.B., Newman, A.B. & Satterfield, S. et al. (2016). Limited literacy in older people and disparities in health and healthcare access. The American Geriatrics Society, 54(5), 770-776.

Wolf, M.S., Curtis, L.M., Wilson, E.A., Revelle, W., Waite, K.R. & Smith, S.G. et al. (2012). Literacy, cognitive function, and health: results of the LitCog study. The Journal of General Internal Medicine, 27(10), 1300-1307.