ปัจจัยที่กำหนดลักษณะการเรียนรู้ภาษาจีนของผู้เรียนชาวไทย เพื่อการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน HSK ระดับ 5

Main Article Content

ชาดา เตรียมวิทยา
สุกัญญา แซ่โก

บทคัดย่อ

บทความของงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอปัจจัยการเรียนรู้ภาษาจีนในประเด็นทฤษฎีความต้องการของมนุษย์ตามแนวคิดของมาสโลว์ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่กำหนดลักษณะการเรียนรู้ภาษาจีนของผู้เรียนในการสอบ HSK 5 ไปสู่บทสรุปว่ามีปัจจัยทางภาษา และปัจจัยการเรียนรู้มีผลต่อผลสัมฤทธิ์เพื่อการสอบ HSK 5 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ของมาสโลว์ เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 4 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง จำนวน 62 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แบบทดสอบความรู้ทางด้านคำศัพท์ 2) แบบทดสอบ HSK และ 3) แบบสอบถามการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การคำนวณคะแนนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน พบว่าปัจจัยทางภาษาและปัจจัยการเรียนรู้ที่มีบทบาทอย่างสูงในการกำหนดระดับภาษาจีนของผู้เรียน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านความสามารถทางภาษาจีนโดยรวมนั้นทักษะการฟังสูงกว่าทักษะด้านอื่น 2) ศักยภาพการเรียนรู้ในปริมาณคำศัพท์ระดับของนักศึกษาสาขาภาษาจีน และนักศึกษาต่างสาขาวิชา ผู้เรียนมีคำศัพท์เฉลี่ย 2,500 คำ สามารถใช้ภาษาจีนในการอ่านนิตยสาร ดูรายการโทรทัศน์ของจีน 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างคำศัพท์และความสามารถทางภาษาจีนของนักศึกษามีความสัมพันธ์กันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และ 4) ปัจจัยกำหนดความสามารถด้านการสื่อสารภาษาจีน การใช้คำศัพท์ การใช้ไวยาการณ์จีน มีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางภาษาและปัจจัยการเรียนรู้
องค์ความรู้วิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สอนภาษาจีนและพัฒนาโครงสร้างหลักสูตรภาษาจีนของไทยต่อไป

Article Details

How to Cite
เตรียมวิทยา ช., & แซ่โก ส. (2023). ปัจจัยที่กำหนดลักษณะการเรียนรู้ภาษาจีนของผู้เรียนชาวไทย เพื่อการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน HSK ระดับ 5. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(2), 587–602. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.39
บท
บทความวิจัย

References

นริศ วศินานนท์. (2559). การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับอุดมศึกษาในประเทศ ไทย. วารสารจีนศึกษา, 9(2), 263-274.

ปิยะพงศ์ มลิวัลย์. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการใช้ภาษาจีนเพื่อการสื่อสารของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1),33-56.

พรสวรรค์ สีป้อ. (2550). สุดยอดวิธีสอนภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ยิ่งรัก ชุนชาติประเสริฐ. (2546). กลวิธีการเรียนภาษาจีนกลางของนักศึกษาไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์บัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรากร แซ่พุ่น และคณะ. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 12(ฉบับพิเศษ), 126-136.

Lu Sheng. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนการออกเสียงภาษาจีนโดยใช้สัทอักษรและปฏิสัมพันธ์สำหรับนักศึกษาจีน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Peng Liting. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาจีนของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม. วารสารกระแสวัฒนธรรม,15(28),27-38.

An Ying. (安颖, 2015). 第二语言学习影响因素探析.《亚太教育》.第 21 期.

Castañeda, R. J. (2013). English teaching through project based learning method, in rural area. Cuadernos De Lingüística Hispánica, 151-170. Retrieved from https://revistas.uptc.edu.co/ index.php/linguistica_ hispanica/article/view/2344/2273

Maslow. A. A (1943). Theory of human motivation. Psychological Review, N.Y. McGraw-Hill.

Robinson, K.(2010, October).Changing Education Paradigms [Video file]. TEDTalk. Retrieved from https://www.ted.com/talks/ken_robinson_changing_education_paradigms

Zhang Hu. (张华, 1998). 课程与教学论. 上海教育出版社.

吴勇毅. (2007). 不同环境下的外国人汉语学习策略研究. 上海 : 上海师范大学.

吴日娜.(2014).对外汉语中级口语教材词汇问题的分析研究——以《发展汉语·中级口语》为例,北京外国语大学硕士论文。