ศึกษารูปแบบในการจัดตั้งศูนย์พักคอยผู้ป่วยโควิด-19 ของภาคเอกชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษารูปแบบของการพัฒนาจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19
ในการจัดตั้งศูนย์พักคอย 2) เพื่อศึกษาความสามารถผู้นำขององค์กรในการพัฒนาความร่วมมือในภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคของการมีส่วนร่วมพัฒนาจัดการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ในศูนย์พักคอย เป็นงานวิจัยเชิงโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การลงพื้นที่ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ตัวแทนสหภาพแรงงาน ตัวแทนศูนย์ฝึกอบรมเพื่อคนทำงาน/มูลนิธิเพื่อคนทำงาน ผู้นำชุมชน ตัวแทนสาธารณสุข และ ชาวบ้านในชุมชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหาร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบของการพัฒนาในการบริหารจัดการในการจัดตั้งศูนย์พักคอย มีการกำหนดสถานที่ตั้งศูนย์พักคอย มีโครงสร้างอาคารสถานที่ที่สามารถรองรับผู้ป่วยตามที่กำหนด มีการแบ่งพื้นที่แยกหญิง-ชาย การบริหารจัดการ
มีโรงพยาบาลแม่ข่าย แต่งตั้งผู้จัดการศูนย์ มีระบบข้อมูลและสารสนเทศ ติดตั้งกล้องทีวีวงจรปิด
และระบบสื่อสารอื่น ๆ ที่เพียงพอ ในการดูแลผู้ป่วย รวมทั้งการสื่อสารกรณีฉุกเฉิน ด้านกำลังคน
มีบุคลากรทางการแพทย์กับทีมงานของศูนย์ประจำที่ศูนย์ และเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยตลอดเวลา 2) การสร้างความร่วมมือ จำเป็นต้องสร้างกระบวนการความร่วมมือของหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน โดยต้องคำนึงถึงความร่วมของคนในชุมชนเป็นสำคัญ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งภาคเอกชนที่ดำเนินการจัดตั้งศูนย์พักคอย ได้สร้างการรับรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้คนในชุมชน 3) ปัญหาอุปสรรค ต้องมีกระบวนการบริหารจัดการที่เป็นระบบได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อให้การดำเนินการเกิดความเรียบร้อยและสามารถบริหารจัดการศูนย์พักคอยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการจัดบริการเพื่อรองรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของสถาบัน/โรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต ฉบับที่ 1/2563. สืบค้นเมื่อ12 มิถุนายน 2564,จาก https://dmh.go.th/covid19/pnews/files/COVID-19-28n.pdf
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือดูแลสังคมจิตใจบุคลากรสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กัลยา สว่างคง และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2559). อิทธิพลของการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานและจากองค์กรที่มีผลต่อความตั้งใจในการลาออกจากงานผ่านความผกูพันด้านความรู้สึกต่อองค์กร ของพนักงานบริษัทนําเที่ยวในกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช, 14(1), 91-103.
จิรศักดิ์ จิยะจันทน์. (2563). การบริหารองค์การที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานสายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 240-253.
ธนวัฒน์ วิเศษสมบัติ และ ฐิติมา ไชยะกุล. (2561). ผลกระทบของแรงจูงใจ ความพึงพอใจ และความผูกพันต่อองค์กร ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมยานยนต์ ของเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด 1 จังหวัดระยอง.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 14-26.
บุญเรือน ทองทิพย์. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กับศักยภาพของผู้นำ ต่อการพัฒนาองค์การแบบ New Normal. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 434-446.
บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 13(25), 103-118.
พภัสสรณ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2562). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีต่อการบริหารสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สาขาเขตพื้นที่ 13 (กรุงเทพมหานคร). วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(1), 486-498.
พิชญา แก้วสระแสน และไพบูลย์ อาชารุ่งโรจน์ (2560). ความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยในการทำงาน ความเครียด และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ของพนักงานบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2), 1042-1057.
พีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564).โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเตรียมชุมชนเพื่อสงเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุในหน่วยปฐมภูมิ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(2), 322-335.
วรชัย สิงหฤกษ์ และวิโรจน์ เจษฏาลักษณ์.(2560). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงาน ผ่านความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างสำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), 203-210.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุพิชฌาย์ ลิ้มตระกูลไทย. (2561). คุณลักษณะงานที่มีผลต่อความผูกพันด้านความรู้สึกต่อองค์กรผ่านผลการปฏิบัติงาน ในบทบาทการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างาน และการรับรู้การสนับสนุน จากองค์กรของโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุทัย เลาหวิเชียร. (2551). รัฐประศาสนศาสตร์ ; ลักษณะวิชาและมิติต่าง ๆ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.
Jackson, S.E., Schuler, R.S. & Werner, S. (2009). Managing human resources. Mason, OH: South-Western Cengage Learning.
Mhalla, M. (2020). The Impact of Novel Corona virus (Covid-19) on the Global Oil and Aviation Markets. Journal of Asian Scientific Research, 10(2), 96-104.