ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ ประการ (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์ (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 1,088 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลแบบสอบถามความคิดเห็น ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา และแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2. ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 3. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ พบว่า มีความสัมพันธ์กันในระดับค่อนข้างสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กอปรเชษฐ ตยัคคานนท์. (2554). หลักจิตวิทยาการบริหาร: Effective Psycholigy FormManagers. กรุงเทพฯ: เปลวอักษร.
ขวัญชนก โตนาค. (2556). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จรุณี เกาเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวชาการในสถานศึกษา กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติ สำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. สงขลา: ชานเมือง.
จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ทวีพิรันท์
ฉัตรชฎา จับปรั่ง. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานธนาคาร พาณิชย์ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
ทิมมิกา เรืองเนตร. (2558). ภาวะผู้นำกับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน บริษัท ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป จำกัด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ธวัชชัย ไพใหล. (2555). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางการศึกษาของนักวิชาการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ธีระ รุญเจริญ. (2557). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา (ฉบับปรับปรุง) เพื่อปฏิรูปรอบ2 และประเมินภายนอกรอบ 3. พิมพ์ครั้งที่8. กรุงเทพฯ: ฟ่าง.
บุญพา พรหมณะ. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ปวีณา กันถิน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวตักรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). ความเป็นผู้นำทางการศึกษา.กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ ทฤษฎี การวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภิญญากิจ เกตุวิเศษกูล. (2562). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ฐิตินันท์ นันทะศรี. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิโรจน์ สารรัตนะ (2557). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและนานาทัศนะร่วมสมัยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: ทิพยวิสุทธิ์.
สังคม จันทร์วิเศษ. (2555). การพัฒนาตัวแบบสมรรถนะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุทธิชัย ปัญญโรจน์. (2555). ครบเครื่องเรื่องนักบริหาร. กรุงเทพฯ: ส.เอเซียเพรส (1989).
อาบูบักรี การี. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารในสถานศึกษาเอกชน อำเภอเบตงจังหวัดยะลา (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.