เงื่อนไขที่มีผลต่อการเข้าถึงระบบการจัดซื้อจัดจ้างระหว่างหน่วยงานภาครัฐ กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ประเภทธุรกิจด้านการผลิต

Main Article Content

สมพงษ์ วาทินชัย
ชุลีรัตน์ เจริญพร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐในรูปแบบการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธี e-Bidding กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ประเภทธุรกิจการผลิต และ 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขที่มีผลต่อการเข้าถึงระบบการจัดซื้อจัดจ้าง โดยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธี e-Bidding กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ประเภทธุรกิจการผลิต เป็นงานวิจัยเชิงโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การลงพื้นที่ และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 บริษัท ประกอบด้วย ตัวแทน S.K.POWERABLE CO.,LTD ตัวแทน DESIGN-ALTERNATIVE CO.,LTD. และ NEOLAB INTERNATIONAL CO.,LTD. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหาร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) ระเบียบ/ข้อกำหนด พบว่า บริษัทฯ ที่ไม่มีประสบการณ์จะขาดความเชื่อมั่นในการเข้าถึงระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement: e-GP) เนื่องจากยังไม่เข้าใจระเบียบข้อกำหนด จึงมีแนวคิดว่าระบบมีความยุ่งยาก ซับซ้อน หลายขั้นตอน ทำให้ไม่สามารถเข้าถึงกระบวนการขั้นตอนการประกวดราคาได้ 2) ภาวะผู้นำ ผู้นำที่ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ประเภทธุรกิจด้านการผลิต จำเป็นต้องมีความเข้าใจและศึกษาระเบียบข้อบังคับของระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐฯ อย่างชัดเจน 3) คุณสมบัติ บริษัทฯ ที่มีประสบการณ์ในการเข้าร่วมประกวดราคา สามารถเข้าถึงและผ่านการประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ e – Bidding ได้มากกว่าผู้ค้าที่ไม่มีประสบการณ์

Article Details

How to Cite
วาทินชัย ส., & เจริญพร ช. (2023). เงื่อนไขที่มีผลต่อการเข้าถึงระบบการจัดซื้อจัดจ้างระหว่างหน่วยงานภาครัฐ กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ประเภทธุรกิจด้านการผลิต . วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(2), 513–526. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.34
บท
บทความวิจัย

References

กรกร อ่อนน่วม และณาน เรืองธรรมสิงห์. (2562). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 6(2), 222-233.

เชษฐ์ธิดา ชูแก้ว, ธนสุวิทย์ ทับหิรัญรักษ์ และสุคนธ์ เครือน้ำคำ. (2560). ปัญหาและอุปสรรคต่อ กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง. ในการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 8, 648-659. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ตรีเพชร์ จิตรมหึมา. (2562). การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตตามกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 13(25), 103-118.

วารินทร์ จอมคำ และจิรวัฒน์ เมธาสุทธิรัตน. (2564). ธรรมาภิบาลในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(4), 25-37.

ศิระ สัตยไพศาล และอนุพงศ์ อวิรุทธา. (2562). การยอมรับเทคโนโลยีคุณลักษณะความเป็น ผู้ประกอบการ และโอกาสทางธุรกิจที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจสตาร์ทอัพ. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 14(3), 41-50.

สุชาติ อำนาจวิภาวี, ศิริวัฒน์ เปลี่ยนบางยาง, เพ็ญศรี ฉิรินัง และจิระพันธ์ สกุณา. (2564). นโยบายของภาครัฐในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เกิดความยั่งยืน.วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 8(3), 56-66.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). แผนการส่งเสริม SME ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.

อรจันทร์ ศิริโชติ. (2564). การยอมรับเทคโนโลยีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 1-15.

Camilleri, M.A. (2019). The SMEs’ technology acceptance of digital media for stakeholder engagement. Journal of Small Business and Enterprise Development, 26(4), 504-521.

Nguyen, T.H., & Waring, T.S. (2013). The adoption of customer relationship management (CRM) technology in SMEs: An empirical study. Journal of Small Business and Enterprise Development, 20(4), 824-848.