ตัวบ่งชี้เชิงกลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพทางการจัดการเพื่อพัฒนาแนวทาง การลดความเครียดในขณะทำงานของพนักงานในองค์กร ที่กำลังมีนโยบายการควบรวมกิจการ

Main Article Content

ธนพัฒน์ อินทวี
พิทักษ์ ศิริวงศ์
ธีระวัฒน์ จันทึก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้เชิงกลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพทางการจัดการเพื่อลดความเครียดในขณะทำงานของพนักงานในองค์กรที่กำลังมีนโยบายการควบรวมกิจการ กระบวนการศึกษานั้นได้ใช้การวิจัยเชิงเอกสาร การสนทนากลุ่มและการวิจัยอนาคต (Ethnographic Delphi Futures Research; EDFR) โดยได้ทำการสัมภาษณ์รอบที่ 1 ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญจากกลุ่มบุคคลเป็นจำนวน 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ประกอบการ ได้แก่ ผู้บริหารงาน ผู้จัดการ ที่มีประสบการณ์ในการจัดการอย่างน้อย 3 ปี รวมจำนวนผู้เชี่ยวชาญทั้งสินจำนวน 17 คน และการทำ EDFR ในรอบที่ 2 ผู้วิจัยจะนำแบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์ครั้งแรกมานำเสนอให้กับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 17 คน ผู้วิจัยดำเนินการประยุกต์ Analysis Hierarchy Process เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และจัดการเรียบเรียงข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวม เพื่อตัดสินใจในการเลือกองค์ประกอบของตัวบ่งชี้ที่ดีที่สุด
จากผลการวิจัยพบว่า ต้องมีองค์ประกอบของการวิเคราะห์ในองค์ประกอบหลัก คือ องค์ประกอบด้านสัมพันธภาพในองค์การ (Relation in Organization)องค์ประกอบด้านผู้นำ (Leader) องค์ประกอบด้านขวัญกำลังใจ (Morale) องค์ประกอบด้านการปรับตัว (Adaptive) องค์ประกอบด้านการปฏิบัติงาน (Procedure) องค์ประกอบด้านทัศนคติ (Attitude) องค์ประกอบด้านงานที่ได้รับมอบหมาย (Job) โดยหน่วยงานที่กำลังมีนโยบายด้านการควบรวมกิจการ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการวางแผนการดำเนินงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

Article Details

How to Cite
อินทวี ธ., ศิริวงศ์ พ., & จันทึก ธ. (2023). ตัวบ่งชี้เชิงกลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพทางการจัดการเพื่อพัฒนาแนวทาง การลดความเครียดในขณะทำงานของพนักงานในองค์กร ที่กำลังมีนโยบายการควบรวมกิจการ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(2), 455–469. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.30
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2540). การสาธรณสุขไทย พ.ศ.2540 – 2541. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กิตติพล ปานเจริญ. (2548). สาเหตุของความเครียดในการทำงานของข้าราชการในสำนักงานที่ดินจังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธนากร กรวัชรเจริญ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของพนักงาน บริษัท ควอลิตี้เฮาส์ จำกัด(มหาชน) (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

นรินทร์ แจ่มจำรัส. (2549). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์.

นิตย์ สัมมาพันธ์. (2546). ภาวะผู้นำพลังขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: อินโนกราฟฟิกส์.

ประภัสสร บุญมี. (2547). การพัฒนาองค์การ. มหาสารคาม: สารคามการพิมพ์.

ปรีชา คงฤทธิศึกษากร. (2536). การสร้างทีมงาน. กรุงเทพฯ: นิตยสารท้องถิ่น.

พัชร ชมพูคำ. (2552). องค์การและการจัดการยุคใหม่. กรุงเทพฯ: แมคกรอฮิล.

พูนศักดิ์ แสงสันต์. (2552). การจัดการการเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ: แมคกรอ-ฮิล.

ภคณี พงค์พิโรดม. (2556). การควบรวมกิจการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2536). การทำงานเป็นทีม. วารสารอรุณสวัสดิ์, เมษายน, 78-80.

อรวรรณ แก้วบุญชู. (2552). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนารูปแบบการลดความเครียดและการสร้างเสริมความสามารถในการทำงานของแรงงานไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

เอกพันธ์ กี่สุขพันธุ์. (2538). การบริหาร ทักษะ และการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

Drucker, P.F. (2004). What makes an effective Executive. Harvard Business Review, 82(6), 58-63.

Farrington, D.(1995).The Development of Offending and Antisocial Behavior from Childhood: Key Findings from the Cambridge Study in Delinquent Development. Journal of Child Psychology and Psychiatry, 36, 929-964.

Lee, C. (1991). Job insecurity: Coping with jobs at risk. Journal of Organization Behavior, 14(3), 297-298.

Michael, F. (2000). Success and Failure of Micro business Owners in Africa: A Psychological Approach. United States of America: Greenwood Publishing Group.

Wheeler, H.H. & Riding, R. J. (1994). Occupational stress in general nurses and midwives. British Journal of Nursing, 3(10), 527-534.

Williams, C.R. (2009). Principle Management. South Western: International edition.