ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาจากปัจจัยในแต่ละด้าน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำนวน 304 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือเป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ตอน จำนวน 39 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและสมการถดถอยพหุคูณโดยวิธี Enter
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านบุคคล ด้านงบประมาณ ด้านการบริหาร และด้านจิตวิทยาสังคมมีความสัมพันธ์กับความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ปัจจัยด้านบุคคล ด้านงบประมาณ ด้านการบริหาร และด้านจิตวิทยาสังคม ส่งผลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษาและสามารถพยากรณ์ความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษาได้ร้อยละ 74.20 สามารถสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ
Yi = 0.393 + 0.097(X1) + 0.176(X2) + 0.294(X3) + 0.341(X4)
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน
Zi = 0.094(ZX1) + 0.244(ZX2) + 0.321(ZX3) + 0.334(ZX4)
องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ ทราบปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษาและนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถานศึกษาต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
นรวัฒน์ ชุติวงศ์. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ, 34(130), 47-58.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปิยะ ตันติเวชยานนท์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม บริษัท ซุปเปอร์ริช อินเตอร์เนชั่นเนล เอ็กซ์เชนจ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 9(2),102-111.
พิชชาภา ตันเทียวและอรพรรณ คงมาลัย.(2021). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรนวัตกรรมบริบทการประปานครหลวง. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 18(1), 1-17.
วัฒนชัย ศิริญาณ. (2560). รูปแบบที่ส่งเสริมให้เกิดองค์การแห่งนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตรศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2018). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านสื่อการเรียนการสอนของครูในสถานศึกษาสำหรับปฏิบัติการสอน เครือข่ายมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(1),220-236.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. (2564). แผนพัฒนาการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. ประจวบคีรีขันธ์:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานลงวันที่ 16 ธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564, จาก https://www.kruachieve.com
สิริภักตร์ ศิริโท และคณะ. (2560). ความเป็นองค์กรนวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยีมหานคร,14(1),159-177.
สุชาติ หัตถ์สุวรรณ. (2557). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกรุงเทพมหานคร. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 14(2), 39-50.
สุริศา ริมคีรี. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้องค์การแห่งนวัตกรรมการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี,14(2), 77-90.
Al-Sa’di,A.F., Abdallah, A.B. & Dahiyat, S.E. (2017). The mediating role of product and process innovations on the and operational performance in manufacturing companies in Jordan. Business Process Management Journal, 23(2), 349-376.
Poomai, K. (2016). A Study Of Supporting Factors For Creating Organizational Innovation In The Context Of Commercial Banks (Master’s Thesis). Thammasat University.
Satansuk, P. (2019). Developing An Innovation Ecosystems In The Government ElectricityGenerating Authority. (Master’s Thesis). Thammasat University.