การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1

Main Article Content

สายชล นาคทิพย์วรรณ
สมใจ สืบเสาะ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์การทำงานและขนาดโรงเรียน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ปีการศึกษา 2564 คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู จำนวน 296 คน ใช้วิธีกำหนดขนาดของตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือเป็น แบบสอบถาม ค่าความเชื่อทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 พบว่า ภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. วิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จำแนกตามประสบการณ์ทำงานและขนาดของสถานศึกษา พบว่า ในภาพรวมมีความแตกต่างกันระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019

Article Details

How to Cite
นาคทิพย์วรรณ ส., & สืบเสาะ ส. (2023). การดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 157–171. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.11
บท
บทความวิจัย

References

กรมสุขภาพจิต.(2546). คู่มือวิทยากรระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3-ช่วงชั้นที่ 4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). นโยบายการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กัลยา พรมรัตน์. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

จันจิรา ไชยรัตน์ และรุ่งชัชดาพร เวหะชาติ.(2561). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. การประชุมวิชาการระดับชาติ“วลัยลักษณ์วิจัย”ครั้งที่ 10 หัวข้อพิเศษ งานวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น, 1-8. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช.

จิตร สิงห์ทอง. (2558).การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนศูนย์ประสานงานเขตพื้นที่การศึกษาสอยดาวเหนือสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

เจริญพงศ์ คงทน. (2557). ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

ถนัด แสนกล้า. (2553). การศึกษาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

บุญทิพย์ สิริธรังศรี. (2563). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์สู่กรอบมาตรฐานวิชาชีพการสอนและสนับสนุนการเรียนรู้ระดับอุดมศึกษา.The Journal of Chulabhorn Royal Academy, 2(3), 1-17.

ปริศนา สีเงิน.(2559). สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นทีการศึกษาประถมศึกษาตราด (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

พรศักดิ์ ผกากรอง. (2562). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี (การค้นคว้าอิสระครุศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ภานุวัฒน์ บ่างศรีวงษ์. (2563). สภาพและปัญหาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา,12(1), 521-528.

ลัดดาวัลย์ เพชรจันทร์. (2559). ปัญหาและแนวทางพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูโรงเรียนบ้านปลวกแดง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

วรรษมน จันทรเบญจกุล. (2563). ตระหนัก ดีกว่าตระหนก เรียนรู้และปองกันโคโรนาไวรัส 2019. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2552). เอกสารสรุปย่อองค์ความรู้ สำหรับการพัฒนาทีมงานขับเคลื่อนระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อการก้าวย่างอย่างยั่งยืน ปี 2562 ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนหลักการ แนวคิด และทิศทางในการดำเนินงาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ.

สุนิสา มาสุข. (2560). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cronbach, L J. (1990). Essentials of Psychological Testing. New York: Harper & Row Publishers.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

WHO. (2020).Archived: WHO Timeline - COVID-19.Retrieved January 17, 2021, from https://www.who.int/news-room/detail/27-04-2020-who-timeline-covid-19