ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโสตศึกษา กลุ่มที่ 1-8 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ

Main Article Content

พิมลพรรณ สว่างสิงขร
วรรณรี ปานศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน โรงเรียนโสตศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 276 คน  ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ


ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านงบประมาณ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านความร่วมมือของผู้ปกครองและชุมชน และปัจจัยด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยี มีความสัมพันธ์กับการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโสตศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านงบประมาณ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยด้านความร่วมมือของผู้ปกครองและชุมชน และปัจจัยด้านสื่อวัสดุอุปกรณ์และเทคโนโลยีส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโสตศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ เพื่อพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโสตศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโรงเรียนโสตศึกษา

Article Details

How to Cite
สว่างสิงขร พ., & ปานศิริ ว. (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโสตศึกษา กลุ่มที่ 1-8 สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ . วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 217–229. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.15
บท
บทความวิจัย

References

กัญญาภัค พิชัย. (2563). สภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย,5 (1), 28-42.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

ชไมพร ธิอ้าย. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มที่ 5 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ดาราวรรณ กลั่นเขตร์การณ์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

นวลเสน่ห์ วงศ์เชิดธรรม. (2554). การพัฒนาเครื่องมือในการประเมินหลักสูตรในเอกสารการสอน ชุดวิชาการประเมินหลักสูตร หน่วยที่ 6. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปวีนา เหล่าลาด. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปารณี เพชรสีช่วง (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการ ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 14 (ค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิการ.

สุชาดา ถาวรชาติ (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2564). ยุทธศาสตร์และจุดเน้น. สืบค้นเมื่อ 15 ตุลาคม 2564, จาก http://special.obec.go.th/HV3/article4.php

Yamane, T. (1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.