ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1

Main Article Content

นฤมล มณีแดง
สมใจ สืบเสาะ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยในการบริหารงานวิชาการและประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และ 3) เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 จากปัจจัยในแต่ละด้าน


การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 304 คน โดยวิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ  ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.926 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ระดับปัจจัยในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านผู้บริหาร ด้านครูผู้สอน ด้านสภาพทั่วไปของสถานศึกษา และด้านผู้ปกครองและชุมชน ตามลำดับ

  2. ระดับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผลการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
    ผลการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ผลการวัดผลและประเมินผล ผลการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการศึกษา ผลการนิเทศการศึกษา ผลการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และผลการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา ตามลำดับ

  3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  4. 4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ได้แก่ ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านครูผู้สอน ปัจจัยด้านผู้ปกครองและชุมชน และปัจจัยด้านสภาพทั่วไปของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.872 สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา ได้ร้อยละ 76.00 และสร้างสมการพยากรณ์ได้ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ


Y ̂ = .775 + .330(X1) + .195(X2) + .169(X3) + .126(X4)


สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน


Z ̂ = .385(Z1) + .217(Z2) + .185(Z3) + .145(Z4)


องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เป็นประโยชน์ เพื่อนำข้อมูลไปใช้พัฒนางานบริหารวิชาการของสถานศึกษา ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Article Details

How to Cite
มณีแดง น., & สืบเสาะ ส. (2023). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 172–187. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.12
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). คู่มือครูการปฏิบัติงานข้าราชการครู. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล.กรุงเทพฯ: สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ฉัตราภรณ์ สถาปิตานนท์.(2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้รับรางวัลพระราชทาน สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ดาราวรรณ กลั่นเขตร์การณ์.(2561).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ไทพนา ป้อมหิน.(2562).ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนครพนม.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์.(2553).การบริหารงานวิชาการ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

ปิยะพร เขียวอินทร์.(2562).ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1.(2563).รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2563. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2564, จากhttps://drive.google.com/file/d/1pdLsQEYlpbrgvqDyGkvDLktikG4jWvpC/view?usp=sharing

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. (2564). จำนวนนักเรียน ห้องเรียน และครู รายโรงเรียนณวันที่ 25 มิถุนายน 2564. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.pck1.go.th/main/UserFiles/files/DMC%206-64.pdf

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1. (2564). รายงานผลการดำเนินงาน (รอบ6 เดือนแรก)ประจำปีงบประมาณ 2564. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2564, จาก http://www.pck1.go.th/main/UserFiles/files/planreport2564.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2559).คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุชาดา ถาวรชาติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

สุปัญญา หาแก้ว. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อธิวัฒน์ พันธ์รัตน์. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อาฑิฏิยา โชคดีวัฒนา. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดตราด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Likert, R. (1967). The human organization: Its management and value. New York: McGraw-Hill.

Yamane, T.(1973). Statistic: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York: Harper and Row.