การเคลื่อนไหวทางสังคมของสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้: จากปัญหาปากท้องสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย

Main Article Content

สุนทร รักษ์รงค์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการก่อตั้งสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ ยุทธวิธีการเคลื่อนไหวทางสังคม และสร้างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการพัฒนายางพาราทั้งระบบ
ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากรและกลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้จำนวน 49 คน โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ ที่ปรึกษา กรรมการ และผู้แทนองค์กรภาคีอื่น ๆ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การสังเกต การสนทนากลุ่ม
ใช้ข้อมูลเชิงเอกสารมาประกอบการสังเคราะห์ และนำเสนอโดยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า สมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ก่อตั้งขึ้นจากผลกระทบของสถานการณ์ราคายางพาราที่ตกต่ำอันเป็นการจุดชนวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อเรียกร้องให้รัฐแก้ไขปัญหาราคายางพารา แต่เมื่อการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบเดิม เช่น การชุมนุมประท้วงหรือการปิดถนนไม่บรรลุเป้าหมาย สมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้จึงปรับแนวทางโดยเลือกใช้ 6 ยุทธวิธีหลักในการเคลื่อนไหวทางสังคม ได้แก่ 1) การประสานความร่วมมือและสร้างเครือข่ายองค์กรพันธมิตร 2) การสร้างพื้นที่ทางวิชาการ 3) การช่วงชิงอำนาจรัฐบางส่วน 4) การเดินสองขา 5) การสร้างแนวร่วมระดับชาติ 6) การสร้างแนวร่วมในเวทีโลก โดยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 3 ประการ ได้แก่ 1) การเปลี่ยนกระบวนการทางความคิดของเกษตรกรชาวสวนยาง 2) การขับเคลื่อนแนวคิดสวนยางยั่งยืนสู่การปฏิบัติให้เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม และ 3) การสร้างความเข้มแข็งให้สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ของหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมสำหรับการพัฒนายางพาราทั้งระบบเพื่อแก้ปัญหาปากท้องเกษตรกรชาวสวนยางได้อย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
รักษ์รงค์ ส. (2023). การเคลื่อนไหวทางสังคมของสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้: จากปัญหาปากท้องสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 7(1), 230–247. https://doi.org/10.14456/jeir.2023.16
บท
บทความวิจัย

References

การยางแห่งประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2560). แผนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579). กรุงเทพฯ: การยางแห่งประเทศไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กุสุมา โกศล. (2555). คุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางในยุคเศรษฐกิจถดถอย: ศึกษากรณีจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย. (2558). รายนามคณะกรรมาธิการ. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2564, จาก http://web.senate.go.th/w3c/senate/ comm.php?url=committee&comm_id=1717

ชุลีรัตน์ เจริญพร. (2542). การเคลื่อนไหวของชุมชน และองค์กรชุมชนบ้านครัว (วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐานเศรษฐกิจ. (2564). แกะรอย “สมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้” น้องใหม่ ร่วมวงการ. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2564, จาก https://www.thansettakij.com/economy/496047

เดลินิวส์ออนไลน์. (2557). อำนวยประเดิมงานถกม็อบสวนยาง. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2564, จาก https://www.dailynews.co.th/politics/283186

ไทยรัฐออนไลน์. (2557). “ม็อบสวนยาง” บุก ทำเนียบฯ จี้ “ประยุทธ์” ถอนร่าง พ.ร.บ.การยางฯ ออกจาก สนช. ขู่ หากดึงดัน เคลื่อนไหวแน่ เชื่อนายกฯ ถูกป้อนข้อมูลเท็จ. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2564, จากhttps://www.thairath.co.th/content/465412

ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (2545). วิถีชีวิต วิธีสู้: ขบวนการประชาชนร่วมสมัย. เชียงใหม่: ตรัสวิน (ซิลค์เวอร์มบุคส์).

โพสทูเดย์ออนไลน์.(2555). ม็อบชาวสวนบุกกรุงจี้แก้ราคาวูบ. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2564, จาก https://www.posttoday.com/social/local/174754

โพสทูเดย์ออนไลน์. (2558). ชุมพร-แนวร่วมกู้ชีพชาวสวนยาง ติดป้ายประกาศเขตภัยพิบัติราคายางพาราตกต่ำ. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2564, จาก https://www.posttoday.com/social/local/390556

เมเนเจอร์ออนไลน์.(2557). ชาวสวนยางลั่นทุนนิยมทำเกษตรกรล่มสลาย ยื่น 5 มาตรการให้รัฐปฏิบัติภายใน 45 วัน ก่อนบุกทำเนียบ.สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2564, จาก https://mgronline.com/south/ detail/9570000115710

ยุติธรรม ศิริอุเทน. (2544). การเคลื่อนไหวทางสังคมของชาวนาอีสาน: กรณีศึกษามูลนิธิเกษตรกรไทย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สปริงนิวส์. (2563). ย้อนรอยราคายางพาราไทย นายกฯ คนไหนปังสุด !. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2564, จาก https://www.springnews.co.th/news/802243

สยามรัฐ. (2560). ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลระดับชาติครั้งที่ 10 รับข้อเสนอปัญหาการจัดการน้ำ-ที่ดิน-ป่าไม้-ทะเล ให้ครม.พิจารณา. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2564, จาก https://siamrath.co.th/n/28069

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) หน้า 177. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2564, จากhttps://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2534). คณะรัฐมนตรี คณะที่ 46. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2564, จากhttps://www.soc.go.th/?page_id=6168

องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย. (2561). ประกาศสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ.สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2564, จาก https://sapa.thaipbs.or.th/assets/uploads/source/6104.pdf

เอนก กุณาละสิริ, มณิสร อนันต๊ะ และ ทินกร เพชรสูงเนิน. (2556). วิถีตลาดยางพารา. วารสารยางพารา, 34(1), 22-31.