โรงเรียนผู้สูงอายุ: การเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุในสังคมสูงวัย

Main Article Content

พูลศักดิ์ หอมสมบัติ
พระใบฎีกาสุพจน์ ตปสีโล (เกษนคร)
บรรยวัสถ์ ฝางคำ
สุพิมล ศรศักดา

บทคัดย่อ

โรงเรียนผู้สูงอายุดำเนินการภายใต้แนวคิดการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต
การเสริมสร้างศักยภาพของผู้สูงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้ พัฒนาทักษะในการดูแลตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ โดยอยู่บนพื้นฐานแนวคิดผู้สูงอายุมีคุณค่าและมีศักยภาพ ควรได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีส่วนร่วมทำประโยชน์ให้สังคมและส่งเสริมการเรียนรู้ให้ผู้สูงอายุโดยเชื่อมโยงกับประสบการณ์ของผู้สูงอายุ สาระการเรียนรู้สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตปัจจุบัน เพิ่มโอกาสในการรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชน ตลอดจนเป็นพื้นที่ที่ผู้สูงอายุจะได้แสดงศักยภาพ โดยการถ่ายทอดภูมิความรู้ประสบการณ์ที่สั่งสมแก่บุคคลอื่น เพื่อสืบสานภูมิปัญญาให้คงคุณค่าคู่กับชุมชน ส่งผลให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าสามารถทำประโยชน์ให้แก่สังคมและมีความสุขในบั้นปลายของชีวิต โดยบทบาทสำคัญของโรงเรียนผู้สูงอายุในการพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุ คือ (1) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้สูงอายุ (2) ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคม โดยมีกรอบหลักสูตรการเรียนรู้ที่บูรณาการกับพุทธนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุด้านกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญา สังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม

Article Details

How to Cite
หอมสมบัติ พ., ตปสีโล (เกษนคร) พ., ฝางคำ บ., & ศรศักดา ส. (2022). โรงเรียนผู้สูงอายุ: การเสริมสร้างศักยภาพผู้สูงอายุในสังคมสูงวัย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 540–551. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/257773
บท
บทความวิชาการ

References

กองส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ. (2559). คู่มือโรงเรียนผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

บรรยวัสถ์ ฝางคำ. (2563). พุทธวิธีการสอน. อุบลราชธานี: วิทยาการพิมพ์.

พระเทพวัชรบัณฑิต (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ) (2564). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน. เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ สถานีโทรทัศน์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย MCU TV. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564, จาก http://fopdev.or.th

พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551. (2551, 3 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เลม 125 ตอนที่ 41 ก. หน้า 1-11.

สำนักงานทะเบียนราษฏร์กรมการปกครอง. (2561). ข้อมูลประชากร 2561. กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์และสารสนเทศที่อยู่อาศัย ฝ่ายวิชาการพัฒนาที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติ.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สถิติประชากรไทย 2561. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564, จากhttp://statbbi.nso.go.th

workpointTODAY. (2564). นักวิชาการเตือนปี 65 ไทยเตรียมพบสึนามิสังคมสูงอายุ พร้อมแนะรัฐและประชาชนเร่งปรับตัว. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564, จาก https://workpointtoday.com/thai-agingsociety-65/