บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสาธิตในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ณัฏญา ธรรมสมพงษ์
สมใจ สืบเสาะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาระดับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสาธิตในจังหวัดปทุมธานี 2)เพื่อเปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21
ซึ่งเป็นเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสาธิตในจังหวัดปทุมธานี โดยจำแนกตาม เพศ อายุและประสบการณ์ทำงานของครู สังกัดโรงเรียนสาธิตในจังหวัดปทุมธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจากครูในโรงเรียนสาธิตในจังหวัดปทุมธานี
ปีการศึกษา 2564 จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าที และสถิติค่าเอฟ โดยวิเคราะห์ความแปรปรวน


ผลการวิจัยพบว่า 1. บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสาธิตในจังหวัดปทุมธานีภาพรวมและรายด้าน มีค่าเฉลี่ยของระดับคะแนนดำเนินการอยู่ในระดับมาก 2. วิเคราะห์เปรียบเทียบบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสาธิตในจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามอายุและประสบการณ์ทำงานของครู สังกัดโรงเรียนสาธิตในจังหวัดปทุมธานี ในภาพรวมและรายด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้ เป็นประโยชน์ต่อ บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสาธิตในจังหวัดปทุมธานี ที่สำคัญ คือ บทบาทผู้บริหารด้านความเป็นผู้นำ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ การเป็นผู้นำในการจัดการศึกษา เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรในการสร้างสรรค์ในการบริหารจัดการสถานศึกษาอื่น ๆ โดยควรให้ความสำคัญในการกำหนดทิศทางที่มีความทันสมัยและเป็นเอกลักษณ์ขององค์กรได้เป็นอย่างดี

Article Details

How to Cite
ธรรมสมพงษ์ ณ., & สืบเสาะ ส. (2022). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 โรงเรียนสาธิตในจังหวัดปทุมธานี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 865–879. https://doi.org/10.14456/jeir.2022.20
บท
บทความวิจัย

References

ชัยยันต์ ฉิมกล่อม. (2555). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูผู้สอน ในอำเภอบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญญา ทรัพย์โสม (2560). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาหญิงในทรรศนะของครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 14(65), 89-102.

วิจารณ์ พานิช. (2555). การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์: เชาวน์ทางปัญญา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ศศิรดา แพงไทย. (2560). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21.วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย, 6(1), 7-11.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). การจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เกิดความรับผิดชอบ (รายงานการวิจัย). สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

สุธันยชนก ทรัพย์ย้อย. (2558). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2 (การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

Cronbach, L.J.(1990) psychological of testing (5 thed.). Nedministration, New York: problem Publishers, Inc.

Derick Meado. (2016). The Role of the Principal in Schools. Retrieved June 15, 2021, from http://teaching.about.com/ od/admin/tp/Role-Of-The-Principal.htm

DoDEA 21 (2014). Principals’ Transformational Leadership Skills and Their Teachers Job Satisfaction in Nigeria. Dissertation Abstracts International, 69(1), 112-A.

Grossman, D. C., Mueller, B. A., Riedy, C., Dowd, M. D., Villaveces, A., Prodzinski, J., Nakagawara, J., Howard, J., Thiersch, N., Harruff, R. (2011). Gun storage practice and risk of youth suicide and unintentional firearm injuries. JAMA, 293, 707-714.

William J. R. (2000). Leadership Requirements in the 21st Century: The Perceptions of Canadian Private Sector Leaders. Dissertation Abstracts International,13(1), 43-57.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed) .New York: Harper and Row Publications.