นโยบายตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์กับการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมของชุมชนในกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษานโยบายตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์กับการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมของชุมชน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อนโยบายตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์กับการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมของชุมชน และ 3) เพื่อเสนอแนะนโยบายตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์กับการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมของชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งมีกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ ผู้นำชุมชน
และประชาชนในชุมชน โดยมีจำนวน 25 คน แล้วนำมาหาข้อสรุปอย่างเป็นระบบ มีเหตุผลและอ้างอิงทฤษฎีดำเนินการจัดระเบียบข้อมูลซึ่งมีผลการวิจัยพบว่า
- นโยบายตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์กับการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมของชุมชน โดยได้รับมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดีจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้นำชุมชน และประชาชนในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ ซึ่งจากการดำเนินงานสามารถลดปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่อย่างเห็นได้ชัด
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อนโยบายตำรวจชุมชนและมวลชนสัมพันธ์กับการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมของชุมชน มีผลจากความเสื่อมโทรมของชุมชนทำให้เกิดความหวาดกลัวภัย หากชุมชนเต็มไปด้วย ปัญหา
ยาเสพติด แก๊งเด็กวัยรุ่น จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปัญหาอาชญากรรม ตลอดจนพฤติกรรมเบี่ยงเบนหรือละเมิดกฎหมาย
3. ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมของชุมชน โดยอิงสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัยโดยผู้วิจัยสามารถสรุปผลได้ดังนี้ 1) ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือจากผู้นำ และประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนนั้น
2) การสนับสนุนบุคลากรในการดำเนินงาน พร้อมทั้งงบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ ยานพาหนะ และ 3) การสื่อสาร (ภาษา) วัฒนธรรมที่แตกต่างกัน จึงต้องทำความเข้าใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นบทสะท้อนในเรื่องความขัดแย้งในการทำงานของเจ้าหน้าที่และประชาชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤษณ์ มีบำรุง. (2556). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรม: กรณีศึกษาชุมชนมัสยิดมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.
จิตติ รัศมีธรรมโชติ. (2555). การวางแผนกลยุทธ์แบบง่าย ๆ ที่ปฏิบัติได้จริง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปศาสตร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 13(25), 103-118.
ไพฑูรย์ จิตธิวรรธน์. (2556). ความร่วมมือของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมในเขตท้องที่สถานีตำรวจภูธรแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล. (2558). การป้องกันอาชญากรรมเชิงรุกโดยทฤษฎีสามเหลี่ยม อาชญากรรม. กรุงเทพฯ: อาระยาการพิมพ์ แอนด์ ซิลค์สกรีน.
สุนันท์ นามตะ. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรมของสถานี ตำรวจภูธร บ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
สุวัตถ์ ไกรสกุล และจุฑาภรณ์ คงรักษ์กวิน. (2558). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรม : กรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรบางกรวย จังหวัดนนทบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). วิทยาลัยราชพฤกษ์.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2558). คู่มือประชาชน. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานการมีส่วนร่วมของประชาชน กองแผนงาน อาชญากรรม, สำนักยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561–2580). กรุงเทพฯ: กองยุทธศาสตร์ สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ.
อิทธิรัฐ นิยมทรัพย์. (2558). รูปแบบการโจรกรรมรถจักรยานยนต์ในพื้นที่ของสถานีตำรวจภูธรเมือง นครปฐม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อดิศักดิ์ ถนอมทรัพย์ และทัชชกร แสงทองดี (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันอาชญากรรม: กรณีศึกษาสถานีตำรวจ นครบาลบางพลัด แขวงบางพลัด กรุงเทพมหานคร. วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย, 1(1), 1-14.
Boonwattanaporn, J. et al. (2015). The Achievement in Management of The Crime Suppression Division, Central Investigation Bureau, Royal Thai Police. Saint John’s Journal, 18(22), 178-193.