การบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21 ที่สัมพันธ์กับการใช้นวัตกรรมในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ภรกนก สายชล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21 (2) ศึกษาการใช้นวัตกรรมในสถานศึกษา และ (3) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21
กับการใช้นวัตกรรมในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 292 คน ได้มาโดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน


ผลการวิจัย (1) การบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) การใช้นวัตกรรมในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21 กับการใช้นวัตกรรมในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ พบว่า มีความสัมพันธ์กันในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
สายชล ภ. (2022). การบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21 ที่สัมพันธ์กับการใช้นวัตกรรมในสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาประจวบคีรีขันธ์. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 892–904. https://doi.org/10.14456/jeir.2022.22
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิกา เรดมอนด์. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

ณัทชลิดา บุตรดีวงษ์. (2561). การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาใน ศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนแสนสุข สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2559). เทคนิคการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แพรดาว สนองผัน. (2557). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถามศึกษาอุดรธานี เขต 3 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

ภาณุมาส ควรครู, ชาญวิทย์ หาญรินทร์ และรชฏ สุวรรณกูฏ (2560). การบริหารจัดการในศตวรรษที่ 21 ที่สัมพันธ์กับการใช้นวัตกรรมในสถานศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม,7(3), 44-52.

มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถามศึกษาปทุมธานี เขต 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิจารณ์ พานิช. (2555). การจัดการความรู้กับการบริหารราชการไทย. กรุงเทพฯ: สถานบันส่งเสริม เพื่อสังคม.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2541). การบริหารงานแบบคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: เอเชียเพรส.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2549). การพัฒนาเมืองและชนบทประยุกต์. กรุงเทพฯ: ฟอร์เพซ.

ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ศศิรดา แพงไทย (2559). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิทยาลัยบัณฑิต เอเชีย,6(1), 7-11.

Bellanca, J., & Brandt, R. (2010). 21st Century skills, rethinking, how students learn. Bloomington, IN: Solution Tree Press.

Driscoll, M. (2015).Top 10 Characteristics of Successful 21st Century School Leaders. Retrieve September 5, 2021, from https://thinkstrategicforschools.com/top-10-characteristics-21st- century-school-leaders/

Gaze, A. (2016). Preparing School Leaders: 21st Century Skills. Retrieved September 8, 2021, from https://www.oecd.org/site/eduistp2012/49850576.pdf

Hoyle, English and Steffy (2005). Skills for Successful 21st Century School Leaders. Retrieved September 8, 2021, from https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED420911.pdf

Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale. New York: Wiley & Son.

Schleicher, A. (2015). School for 21st century learners: Strong leaders, confident teachers, innovative approaches. International Summit on the Teaching Profession, OECD.

Yamane, T. (1970). Statistic: an Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row.