เสรีนิยมกับพลังอำนาจใหม่ของการเมืองในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

สมนึก จันทร์โสดา
พระสิริชัย ธมฺมจาโร (สายสิงห์)
พระสังวาน เขมปญฺโญ (สายเนตร)
ศราวุธ ขันธวิชัย

บทคัดย่อ

เสรีนิยมเป็นอุดมการณ์ทางการเมืองที่นานาอารยประเทศให้ความสำคัญและเป็นเงื่อนไขสำคัญในการกำหนดความสัมพันธ์ทั้งระหว่างประชากรในรัฐและระหว่างรัฐ ในขณะเดียวกันในทุกสังคมจะมีทั้งกลุ่มพลังอำนาจเก่าที่ต้องการรักษาฐานอำนาจเดิมทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองกับพลังอำนาจใหม่ที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การมีส่วนร่วมของคนทุกกลุ่ม บทความทางวิชาการนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของการเมืองตามแนวคิดเสรีนิยมและแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นยุคที่มีการใช้สื่อเทคโนโลยีและมีการต่อสู้ระหว่างพลังอำนาจเก่าและพลังอำนาจใหม่ โดยเป็นการศึกษาเอกสารทางวิชาการ (Technical documents) ผลการศึกษาพบว่า เสรีนิยมให้ความสำคัญต่อสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ทั้งในชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน สิทธิธรรมชาติดังกล่าวเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงอยู่อย่างแท้จริงของมนุษย์ และจะต้องได้รับความคุ้มครอง  นอกจากนี้ เสรีนิยมได้ยึดหลักความเปิดเผย การโต้แย้งถกเถียงด้วยหลักของเหตุผล ความยุติธรรม ความอดทนอดกลั้นที่จะรับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย แม้ว่าเสรีนิยมจะให้ความสำคัญต่อการเคารพในความเป็นปัจเจกบุคคล แต่โดยธรรมชาติแล้ว ความปรารถนาหลักของมนุษย์คือการแสวงหาอำนาจและเกียรติยศ โดยมนุษย์ได้มีวิวัฒนาการในการใช้เครื่องมือแสวงหาอำนาจและเกียรติยศ อำนาจและเกียรติยศจึงเป็นทั้งเครื่องมือและจุดมุ่งหมายของมนุษย์ มีการต่อสู้ระหว่างอำนาจเก่าและอำนาจใหม่ในทุกยุคสมัย  การเมืองเสรีนิยมในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่แสดงออกผ่านสื่อเทคโนโลยีทางสังคมและขณะเดียวกันได้เกิดการต่อสู้ระหว่างอำนาจเก่าที่ยึดถือระบบการสั่งการจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง ในขณะที่อำนาจใหม่ เป็นระบบการแสดงออกจากสังคมระดับล่างสู่บนหรือสังคมระนาบเดียวกันที่เป็นโลกของการสร้างสรรค์ร่วมกันที่ต้องอาศัยพลังการมีส่วนร่วมคิดสร้างสรรค์และรู้ภาระหน้าที่ร่วมกัน การเปิดพื้นที่ของอำนาจใหม่จึงเป็นการเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นไปโดยเสรีและเปิดเผย นำไปสู่การพัฒนาความเป็นเสรีประชาธิปไตย ที่มีความเป็นพหุนิยม เคารพในความเห็นต่างหลากหลาย มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Blakemore, E. (2010).What was the Arab Spring and how did it spread. Retrieved September 10, 2020, from https://www.nationalgeographic.com/

Hall, E. B., (2020). Life of Voltaire. Retrieved September 10, 2020, from https://www.wikipedia.org/

Heywood, A. (1992).Political Ideologies: An Introduction by Andrew Heywood, Palgrave MacMillan. Retrieved September 5, 2020, from https://www.goodreads.com/book/show/679718.Political _Ideologies

Joyce, P. (2015). Politics (A complete introduction). London: Hodder and Stoughton.

Lukes, S. M. (2020). Individualism: politics and philosophy. Retrieved September 9, 2020, from https://www.britannica.com/

Ray Monk, (2020). Bertrand Russell, British logician and philosopher. Retrieved September 9, 2020, from https://www.britannica.com

Rogers, Graham A.J., (2020). John Locke: English philosopher. John Locke: Bibliography.

Russell, B. (1938). Power, a new analysis. Retrieved September 10, 2020, from https://www.russell-j.com

Timms, H. & Heimans, J. (2018). New Power: How it’s changing the 21st century-and why you need to know. London: Macmillan.