การพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยทักษะการโค้ช

Main Article Content

ณัฏฐนิธ กาลพัฒน์
สุวิทย์ ภาณุจารี
วีระวัฒน์ พัฒนกุลชัย

บทคัดย่อ

ปัจจุบันปัญหาหลักของการบริหารสถานศึกษาคือผู้บริหารสถานศึกษาขาดทักษะการโค้ช เพราะหากผู้บริหารสถานศึกษามีทักษะการโค้ชสูง จะมีความสามารถบริหารสถานศึกษาให้เกิดความสำเร็จโดยใช้ทักษะการโค้ช โค้ชครูและบุคลากรในสถานศึกษาให้สามารถปฏิบัติงานจนบรรลุวัตถุประสงค์ของสถานศึกษาได้ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงมีความจำเป็นต้องใช้ทักษะการโค้ช (Coaching) เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการเรียนการสอนของครูและนักเรียน ที่สำคัญหากผู้บริหารสถานศึกษามีทักษะการโค้ชที่ดีส่งผลให้การจัดการศึกษาบรรลุเป้าหมายคือประชากรที่มีคุณภาพของประเทศ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติกำหนด ทักษะการโค้ชของผู้บริหารสถานศึกษาจึงนับว่าเป็นวิธีการที่สำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ดังนั้นหากผู้บริหารสถานศึกษามีทักษะการโค้ชที่ดีจะช่วยส่งเสริมให้ครูและบุคคลากรทางการศึกษาเกิดความตระหนัก คิดไตร่ตรอง และสำรวจตรวจสอบงานที่ปฏิบัติมากยิ่งขึ้น และส่งผลต่อความสามารถพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศคือนักเรียนที่มีคุณภาพให้กับประเทศตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติได้อย่างมีคุณภาพ


ทักษะการโค้ช เป็นกระบวนการส่งเสริมให้ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ศาสตร์การบริหารสถานศึกษา และการใช้กระบวนการบริหารถ่ายทอดผ่านทักษะการโค้ช 6 ทักษะ ได้แก่ 1) การสร้างความไว้วางใจ (Trust building) 2) การฟัง (Listening) 3) การถาม (Questioning) 4) การเสริมสร้างกำลังใจ (Encouraging) 5) การให้ข้อมูลย้อนกลับ (Giving feedback) และ 6) การสังเกต (Observation) โดยแต่ละทักษะการโค้ชได้มีนักวิชาการนำเสนอเรียงลำดับคะแนนความสำคัญของการนำไปใช้เฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ทักษะการฟัง และ ทักษะการถาม มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากัน คือ ร้อยละ 100 รองลงมาคือ การสร้างความไว้วางใจ การชมและการให้กำลังใจ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากัน คือร้อยละ 90 และ การให้ข้อมูลย้อนกลับ มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 60 และสุดท้ายการสังเกตภาษากาย มีคะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 40

Article Details

How to Cite
กาลพัฒน์ ณ., ภาณุจารี ส., & พัฒนกุลชัย ว. (2022). การพัฒนาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้วยทักษะการโค้ช. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 579–595. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/257140
บท
บทความวิชาการ

References

เทิดทูน ไทยศรีวิชัย. (2558). คู่มือโค้ชไทย การโค้ชมืออาชีพตามหลักสหพันธ์โค้ชนานาชาติ. กรุงเทพฯ: สถาบันโค้ชไทย.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (2551). การบริหารผลงานเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ทิศนา แขมณี. (2552). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ปัญญ์ประคอง สาธรรม. (2559). การพัฒนาหลักสูตรครูโดยใช้การโค้ชเชิงบวก เพื่อพัฒนาหลักสูตรการบริโภคสื่ออย่างรู้เท่าทัน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วาโร เพ็งสวสดิ์ (2553). การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(4), 1-15.

วิชัย วงษ์ใหญ่; และ มารุต พัฒผล. (2557). การโค้ชเพื่อการรู้คิด. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.

ศิริรัตน์ ศิริวรรณ. (2557). การโค้ชเพื่อพัฒนาผลการปฏิบัติงานที่ยอมเยี่ยม. กรุงเทพฯ: เอช อาร์เซ็นเตอร์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562) ครูยุคใหม่สนใจดิจิตอล.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พริหวานกราฟฟิก.

อภิชัย พันธเสน และคณะ. (2558). การสังเคราะห์งานวิจัยว่าด้วยปัญหาและ ข้อเสนอแนะ ในกระบวนการจดการศึกษาไทย: ประเด็นปัญหาคณภาพการศึกษา (2535-2558) (รายงานวิจัย). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อนันต์ กันนาง. (2558). การนิเทศแบบ Coaching. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2563, จาก http://nainut.esdc. go.th/home/kar-nithes-baeb-coaching.

อุทิศ ดวงผาสุก, เฉลิมชัย กิตติศักดิ์นาวิน และ นลินณัฐ ดีสวัสดิ์. (2560). การบริหารโดยการโค้ชเพื่อการพัฒนาองค์การ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี,11(26), 135-136.

Champathes, R. M. (2006). Coaching for Performance Improvement: The “COACH” Model. Journal of Development and Learning Organization, 20(2), 17-18.

Flaherty, J. (2009). Coaching: Evoking Excellence in Others. Boston: Butterworth-Heinemann.

Good, V. C. (1973). Dictionary of Education. 3th ed., New York: McGraw-Hill Book Company.

Ibarra. H. (2004). Coaching and Mentoring Boston. MA: Harvard Business School Press.

International Coach Federation. (2009). ICF global coaching client study final report. Retrieved

December 19, 2020, from https://www.michalholub.cz/download/ICF-Global-Coaching-Client-Study-complete.pdf

Jim Knight. (2000). Departmental leadership in higher education. Buckingham:Society for Research into Higher Education.

Keeves, J. P. (1988). Model and Model Building. Educational Research Methodology and Measurement: An International Handbook. Oxford: Pergamon Press Laboratory.

Lawson, K. (2007). Coaching for Improve Performance. Retrieved August 15, 2017, from http://www.growinggreatness.com/gg_articles/Coaching_for_Improved_performance.pdf

Lofthouse, R.; Leat, D,; & Towler, C. (2010). Coaching for Teaching and Learning: A Practical Guide for Schools. Newcastle: National College.

Madaus, G. F.; Scriven, M. S.; & Stufflebeam, D. L. (1983). Evaluation Models Viewpoints on Educational and Human Services Evaluation. 8th ed., Boston: Khuwer-Nijhoff Publishing.

Peterson, D. B., & Hicks, M. L. (1996). Leader as Coach: Strategies for Coaching and Developing Others. Minneapolis. MN: Personnel Decisions International.

Rock, D. (2007). Quiet Leadership: Six Steps to Transforming Performance at Work. New York: Harper Collins Publishing.

Whitmore, J. (2009). Coaching for Performance. The Principles and Practice of Coaching and Leadership. 4th ed. London: Nicholas Brealey Publishing.

Willer, D. (1986). Scientific Sociology: Theory and Method Englewood Cliff. NJ: Prentice-Hall.

Zenger, John and Kathleen Stinnett. (2010). The Extraordinary Coach: How the Best Leaders. Help Others Grow: McGraw-Hil.