รูปแบบการยอมรับการบริหารองค์การของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล

Main Article Content

อิริยา ผ่องพิทยา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)วิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการยอมรับการบริหารองค์การของบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล 2) ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบการยอมรับการบริหารองค์การของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณนี้กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย บุคคลของบริษัทจำนวน 400 คน ที่ทำงานอยู่กับบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เครื่องมือของการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามชนิดที่ผู้ตอบกรอกข้อความเองจำนวนหนึ่ง ข้อมูลที่เก็บได้ทำการวิเคราะห์โดยการใช้สถิติพรรณนา และโมเดลสมการโครงสร้างสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ข้อมูลที่ต้องการได้มาจากเอกสารต่างๆ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้รู้เรื่องมี 8 ท่าน ผู้รู้เรื่องเหล่านี้ซึ่งเป็นผู้บริหารของบริษัททั้งหมดถูกคัดเลือกโดยจงใจ เครื่องมือที่ใช้ คือ แนวในการสัมภาษณ์ซึ่งโครงสร้างข้อมูลเชิงคุณภาพที่ได้มาวิเคราะห์โดยการแปลความเชิงวิเคราะห์


ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าสถิติขององค์ประกอบของรูปแบบการยอมรับของการบริหารองค์การสิ่งแวดล้อมภายใน สิ่งแวดล้อมภายนอก ปัจจัยเงื่อนไขที่สนับสนุนและปัจจัยการยอมรับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสถิติมีความสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินทุกค่า 2)หลังจากที่ได้ตรวจสอบขนาดของความมีอิทธิพลโดยตรงและมีอิทธิพลต่อรูปแบบการยอมรับการบริหารองค์การมากที่สุดได้แก่ ปัจจัยเงื่อนไขสนับสนุนตามมาด้วยปัจจัยภายใน นอกจากนั้นยังพบว่าปัจจัยภายในมีอิทธิพลทางอ้อมต่อรูปแบบการยอมรับการบริหารองค์การโดยผ่านทางปัจจัยเงื่อนไขสนับสนุนโดยมีระดับนัยสำคัญเชิงสถิติที่ 0.001 กล่าวโดยรวมรูปแบบการยอมรับการบริหารองค์การเพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัลได้รับอิทธิพลของปัจจัยทั้งหมดเท่ากับ 0.779 โดยมีระดับนัยสำคัญเชิงสถิติที่ 0.001 ในประการสุดท้ายพบว่าข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้รู้เรื่องมี 8 ท่าน มีความสอดคล้องกับสิ่งที่ค้นพบที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณอย่างมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ผ่องพิทยา อ. (2022). รูปแบบการยอมรับการบริหารองค์การของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เพื่อรองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 666–682. https://doi.org/10.14456/jeir.2022.5
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา.(2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2561). กลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงานขององค์การ: ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

บริษัท ทีโอที จํากัด (มหาชน). (2559). รายงานประจําปี 2559 บริษัททีโอทีจํากัด (มหาชน). สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2564, จาก https:// www.tot.co.th

ทีโอทีจํากัด (มหาชน). (2560). รายงานการพัฒนาความยั่งยืน (SR Report) ประจําปี 2560. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2564, จาก https:// www.tot.co.th

ธนวัฒน์ วิเศษสมบัติ และ ฐิติมา ไชยะกุล. (2561). ผลกระทบของแรงจูงใจ ความพึงพอใจ และความผูกพันต่อองค์กร ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการใอุตสาหกรรมยานยนต์ ของเขตนิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด 1 จังหวัดระยอง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(3), 14-26.

บุษกร เชี่ยวจินดากานต์. (2561). เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 13(25), 103-118.

พีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). ภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.).วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 60-71.

วิทัศน์ ศรีสุวรรณเกศ. (2561). แบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมล้านนาตะวันออก (ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

วรชัย สิงหฤกษ์ และวิโรจน์ เจษฏาลักษณ์.(2560). อิทธิพลของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงาน ผ่านความผูกพันต่อองค์การของลูกจ้างสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์,12(2), 203-210.

สุธา พงศ์ถาวรภิญโญ. (2562). กลยุทธ์การสร้างสรรค์คุณค่าร่วมที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้าในโรงแรมระดับ 3 ดาว เมืองพัทยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Chiara Verbano, Karen Venturini. (2013). Managing Risks in SMEs: A Literature Review and Research Agenda. Journal of Technology Management & Innovation, 8(3), 186-197.

Fache , W. (2000). Methodologies for innovation and improvement of services in tourism. Managing Service Quality, 10(6), pp. 356-66.

Frese at al. (2000). Psychological Success Factors of Entrepreneurship in Owners in Africa. California: Greenwood Publishing.

Hair, J. F., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2011). PLS-SEM: Indeed a silver bullet. Journal of Marketing theory and Practice, 19(2), 139-152.

Henseler, J., Hubona, G., & Ray, P. A. (2016). Using PLS Path Modeling in New Technology Research: updated guidelines. Industrial Management & Data Systems, 116(1), 2–20.

Mhalla, M. (2020). The Impact of Novel Corona virus (Covid-19) on the Global Oil and Aviation Markets. Journal of Asian Scientific Research, 10(2), 96-104.

Ringle, C. M., Götz, O., Wetzels, M., & Wilson, B. (2015). On the use of formative measurement specifications in structural equation modeling: A Monte Carlo simulation study to compare covariance-based and partial least squares model estimation methodologies. METEOR Research Memoranda.

Sarstedt, M., Ringle, C. M., Smith, D., Reams, R., & Hair, J. F. (2014). Partial least squares structural equation modeling (PLS-SEM): A useful tool for family business researchers. Journal of Family Business Strategy, 5(1), 105-115.

Zimmerer & Scarborough. (1996). Entrepreneurship and New Venture Formation. Presbyterian College.