ผลกระทบของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมสมัยและบุพปัจจัย ต่อผลประกอบการของธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง และวิสาหกิจเริ่มต้นไทย

Main Article Content

ณภัทร ดีมาก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ประการแรกเพื่อศึกษาผลกระทบของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมสมัยและบุพปัจจัยต่อผลประกอบการของธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง และวิสาหกิจเริ่มต้นไทยสำหรับการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์มานำเสนอ ใช้ระเบียบวิธีวิจัย ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 5 ราย ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากผู้ประกอบธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง และวิสาหกิจเริ่มต้น จำนวน 400 ราย เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ตัวแบบจำลองสมการโครงสร้างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์


ผลการวิจัยพบว่า มุมมองด้านฐานทรัพยากรมีผลทางบวกต่อมุมมองด้านสถาบันและเครือข่ายทางธุรกิจ ส่วนมุมมองด้านสถาบันมีผลทางบวกต่อเครือข่ายทางธุรกิจ สำหรับตัวแปรคั่นกลาง ประกอบด้วย 2 ตัวแปร คือ เครือข่ายทางธุรกิจและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมสมัยโดยตามวัตถุประสงค์ พบว่า เครือข่ายทางธุรกิจมีผลทางบวกต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมสมัยและผลประกอบการธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง และวิสาหกิจเริ่มต้น ตัวแปรตามวัตถุประสงค์ตัวสุดท้ายที่มีผลทางบวกต่อผลประกอบการธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง และวิสาหกิจเริ่มต้น คือ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมสมัย


ดังนั้นผลการวิจัยครั้งนี้ ได้ข้อค้นพบที่สำคัญ คือ เครือข่ายทางธุรกิจเป็นตัวแปรที่มีผลทางบวกสูงสุดในทางตรงต่อผลประกอบการธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง  และวิสาหกิจเริ่มต้น ซึ่งผลจากการวิจัยครั้งนี้ ถือว่าเป็นข้อค้นพบที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง และวิสาหกิจเริ่มต้นในการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจให้มีผลประกอบการที่น่าพอใจ สามารถต่อยอด ขยายกิจการ เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันได้ในอนาคต

Article Details

How to Cite
ดีมาก ณ. (2022). ผลกระทบของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีร่วมสมัยและบุพปัจจัย ต่อผลประกอบการของธุรกิจขนาดย่อม ขนาดกลาง และวิสาหกิจเริ่มต้นไทย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 654–665. https://doi.org/10.14456/jeir.2022.4
บท
บทความวิจัย

References

เกศรา มัญชุศรี. (2560). SET your startup business guide. กรุงเทพฯ: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

งามเนตร จริงสูงเนิน. (2538). องค์กรชุมชนเครือข่ายเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ: กรณีศึกษาองค์กรชุมชนเครือข่ายลุ่มน้ำแม่ราก-แม่เลา ตำบล-ป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

จิราภรณ์ บุญยิ่ง. (2559). การบริหารจัดการธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร,11(1),136-148.

ฐานเศรษฐกิจ. (2563). สสว. เผย SMEs ยกเลิกกิจการเพิ่ม 3.56%. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2564, จาก https://www.thansettakij.com/business/418419

ธีรวุฒิ เอละกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

นฤมล นิราทร. (2543). การสร้างเครือข่ายการทำงาน: ข้อควรพิจารณาบางประการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มหาวิทยาลัยศิลปากร, โครงการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่. (2560). สตาร์ทอัพ คืออะไร. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2562, จาก http://www.startup.su.ac.th/?p=84

ศศิรินทร์ สายะสนธิ. (2560). ทำไม Startup ในไทยไม่ค่อยประสบความสำเร็จ?. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detali/760159

สมใจ โลหะพูนตระกูล. (2539). จส. 100: สำนึกทางสังคมของคนชั้นกลางในเมือง (วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมโภชน์ จันทร์สมบูรณ์. (2562). เมื่อองค์กรใหญ่ร่วมมือกับสตาร์ทอัพสร้างนวัตกรรมใหม่. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.disruptignite.com/blog/corporate-x-startup

สำนักพิมพ์บิงโก. (2561). สตาร์ทอัพคืออะไร? ต่างจาก SME หรือเปล่า? และสำคัญต่อชีวิตเราอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน, 2563, จาก https://bingobook.co/business/ startup/

สุพเนตร แสนเสนา, ธิดาทิพย์ บุตรแสง, กุลยา พัฒนากูล. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2560, จาก http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic/60/Seminar/01_1_Startup.pdf

เสาวลักษณ์ พิสิษฐ์ไพบูลย์. (2559). ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0. ค้นเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2564, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/33499%-ขับเคลื่อนการศึกษาไทยสู่%ไทยแลนด์%204.0.html

Barney, J. B. (1986). Strategic factor markets: Expectations, luck, and business strategy. Management Science, 32, 1231-1241.

Drnovsek, M., Wincent, J., & Cardon, M. S. (2010). Entrepreneurial self-efficacy and business start-up: Developing a multi-dimensional definition. International Journal of Entrepreneurial Behaviorand Research, 16(4), 329-348.

North, D. C. (1990). Institutions, institutional change, and economic performance. New York: Cambridge University Press.

Peng, M. W., Wang, D. Y. L., & Jiang, Y. (2008).An institution-based view of international business strategy: A focus on emerging economies. Journal of International Business Studies, 39(5), 920-936.

Rumelt, R. P. (1984). Towards a strategic theory of the firm. Competitive Strategic Management, 26, 556-570.

Sutton, S. M. (2000). The role of process in a software start-up. IEEE Software, 17(4), 33-39.

Wernerfelt, B.(1984).A resource-based view of the firm. Strategic Management Journal, 5(2),171-180.

Williamson, O. E. (1985). The economic institutions of capitalism: Firms, markets, relational contracting. New York: Free Press.