ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จการดำเนินธุรกิจ (SMEs) จากสภาวะ การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของผู้ประกอบการในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ธนะพัฒน์ วิริต

บทคัดย่อ

       งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อเปรียบเทียบความสําเร็จการดําเนินธุรกิจ(SMEs) จากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของผู้ประกอบการในจังหวัดปทุมธานี 2)เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จการดําเนินธุรกิจ(SMEs) จากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของผู้ประกอบการในจังหวัดปทุมธานี และ3)เพื่อเสนอแนะแนวทางการดําเนินธุรกิจ(SMEs) จากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของผู้ประกอบการในจังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดปทุมธานีจำนวน 250 คน โดยการสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็นใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า


  1. การเปรียบเทียบความสําเร็จการดําเนินธุรกิจ(SMEs) จากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ พบว่าภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ระยะเวลาที่ประกอบกิจการ รูปแบบของธุรกิจ และเงินทุนในการประกอบกิจการ

  2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสําเร็จการดําเนินธุรกิจ(SMEs) จากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 พบว่า ด้านความคิดเชิงนวัตกรรม (β = 0.174) ส่งผลต่อความความสําเร็จมากที่สุด รองลงมาด้านความรู้ความสามารถความใฝ่รู้ (β = 0.164) ด้านการบริหารจัดการ (β = 0.146) ด้านความต้องการความสําเร็จ (β = 0.141) ด้านการยอมรับความเสี่ยง (β = 0.129) และด้านความมั่นใจในตนเอง (β = 0.125) และความเป็นไปได้ของอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน(β = 0.114) สมการมีอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 78 และสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

          Z=0.174X1**+0.164X2**+0.146X3**+0.141X4**+0.129X5**+0.125X6**+0.114X7**

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพร กัลยาณมิตร (2564). การนำกลยุทธ์การบริหารสู่การปฏิบัติ ในรูปแบบความปกติใหม่ (New Normal). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 402-422.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการจัดบริการเพื่อรองรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของสถาบัน/โรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต ฉบับที่ 1/2563. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

กรมสรรพากร. (2560). เกี่ยวกับธุรกิจ SMEs กลุ่มบริหารการเสียภาษีธุรกิจขนาดกลาง และขนาดเล็ก. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564, จาก http://www.rd.go.th/publish/38056.0.html

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือดูแลสังคมจิตใจบุคลากรสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จารุพร ขันธนันท์ และวสุธิดา นุริตมนต์.(2562). คุณลักษณะของผู้ประกอบการและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: กรณีศึกษาลูกค้าของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(108), 132-144.

ธนพล ก่อฐานะ. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการจัดการความเสี่ยงกับผลการดำเนินงานแบบสมดุลของวิสาหกจิขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 14(3), 106-115.

นิวัฒน์ รังสร้อยและพีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). ภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 60-71.

บุญเรือน ทองทิพย์. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กับศักยภาพของผู้นำ ต่อการพัฒนาองค์การแบบ New Normal. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1),434-446.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2547).ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เฮาส์ ออฟ เคอร์มิสท์.

มณฐิณี ประเสริฐลาภ. (2558). การเปรียบเทียบความน่าเชื่อถือของผลการวัดแบบวัดเจตคติของลิเคอร์ท. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 7(2), 249-258.

รัตนะ บัวสนธ์. (2555). วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานสำหรับการวิจัยและประเมิน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชานิประศาสน์. (2545). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการ พิมพ์.

ศิราณี เมฆลอย. (2564). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ข้าวหอมมะลิบรรจุถุงของประชาชนในจังหวัดสมุทรสาคร. วารสาร Journal of Roi Kaensarn Acadami, 6(9), 323-336.

สมโภชน์ อเนกสุข. (2564). วิธีการเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพสู่วิธีการวิจัยแบบผสม. e-Journal of Education Studies, Burapha University,3(1), 1-16.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2562). มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของ SMEs หรือ GDP SMEs ในไตรมาสแรกของปี 2559. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564, จาก http://www.sme.go.th/

สุธา พงศ์ถาวรภิญโญ. (2562). กลยุทธ์การสร้างสรรค์คุณค่าร่วมที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้าในโรงแรมระดับ 3 ดาวเมืองพัทยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Amran Awang, Abdul Rashid Said Asghar, & Khairul Anwar Subari. (2010). Study of Distinctive Capabilities and Entrepreneurial Orientation on Return on Sales among Small and Medium Agro-Based Enterprises (SMAEs) in Malaysia. International Business Research,3(2),34-48.

Berger-Walliser, G., Bird, Robert C., & Haapio, H. (2011). Promoting business success through contract visualization. Journal of Law, Business, and Ethics, 17(1), 55-75.

Chiara Verbano, Karen Venturini. (2013). Managing Risks in SMEs: A Literature Review and Research Agenda. Journal of Technology Management & Innovation,8(3),186-197.

Kotler, P. & Armstrong, G. (2009). Marketing, an Introduction. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Leedy, P. D., & Ormrod, J. E. (2015). Practical research: Planning and design. 11th.ed. Boston: Pearson.

Mhalla, M. (2020). The Impact of Novel Corona virus (Covid-19) on the Global Oil and Aviation Markets. Journal of Asian Scientific Research, 10(2), 96-104.

Pletnev D.a & Barkhatov V.a. (2016). Business Success of Small and Medium Sized Enterprises in Russia and Social Responsibility of Managers. Social and Behavioral Sciences, 221(7), 185-193.