ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก วิชาภาษาไทย ที่มีต่อความสามารถในการเขียนสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ศศิกัญญา กัลป์ทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสะกดคำ หลังการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยากกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ  3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำยาก เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน40 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2)แบบฝึกทักษะ 3)แบบวัดความสามารถในการเขียนสะกดคำแบบเขียนตอบ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกันและการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว


ผลการวิจัย พบว่า ผู้เรียนความสามารถเขียนสะกดคำ หลังเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ก่อนเรียน (gif.latex?\bar{x}=18.90 , SD= 5.50) และหลังเรียน (gif.latex?\bar{x}=35.63,SD= 2.77) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 35.63 คิดเป็นร้อยละ 89และมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะในระดับมากที่สุด แบบฝึกทักษะนี้เป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมความสามารถในการเขียนสะกดคำยากของนักเรียน โดยครูผู้สอนสามารถนำไปใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มสูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551).ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กำชัย ทองหล่อ. (2543). หลักภาษาไทย. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

พรรณี ชูทัย. (2522). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: วรวุฒิการพิมพ์.

พัชราภรณ์ ยี่ใจ. (2554). การสร้างหนังสือการ์ตูนเพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รอน น้อมถวาย. (2559). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนคำศัพท์พื้นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสามเสน (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วรรณี โสมประยูร. (2553). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2545). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคนอื่น ๆ. (2551). วิธีสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ: 9199 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2551). การวัดผลการศึกษา. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

เสมอปัญญา หนูป่า. (2559). แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนสะกดคำสระเปลี่ยนรูปและสระลดรูปกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,13(1), 55-66.