คุณลักษณะและกลยุทธ์ของผู้ประกอบการที่มีผลต่อความสำเร็จการดำเนินธุรกิจบริษัทรับเหมาก่อสร้างในสภาวะวิกฤตโควิด-19 ในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

ธนะพัฒน์ วิริต

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)สำรวจคุณลักษณะของผู้ประกอบการ กลยุทธ์ธุรกิจของผู้ประกอบการ และความสำเร็จการดำเนินธุรกิจบริษัทรับเหมาก่อสร้างในสภาวะวิกฤตโควิด-19 2) ศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความสำเร็จการดำเนินธุรกิจบริษัทรับเหมาก่อสร้างในสภาวะวิกฤตโควิด-19 และ 3) ศึกษากลยุทธ์ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จการดำเนินธุรกิจบริษัทรับเหมาก่อสร้างในสภาวะวิกฤตโควิด-19 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือผู้ประกอบการธุรกิจบริษัทรับเหมาก่อสร้างในเขตจังหวัดปทุมธานี จำนวน 400 คน โดยการสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็น ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) เพื่อทดสอบสมมติฐาน


ผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะของผู้ประกอบการ และกลยุทธ์ธุรกิจของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อความสำเร็จการดำเนินธุรกิจบริษัทรับเหมาก่อสร้างในสภาวะวิกฤตโควิด-19 แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.05 และคุณลักษณะของผู้ประกอบการ คือ ด้านความต้องการความสำเร็จ ด้านการบริหารจัดการ และด้านการสร้างนวัตกรรมส่งผลต่อความสำเร็จการดำเนินธุรกิจบริษัทรับเหมาก่อสร้างการดำเนินธุรกิจบริษัทรับเหมาก่อสร้างในสภาวะวิกฤตโควิด-19 สำหรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ
คือ กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง กลยุทธ์ต้นทุนตํ่า และกลยุทธ์สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่ส่งผลต่อความสำเร็จการดำเนินธุรกิจบริษัทรับเหมาก่อสร้างในสภาวะวิกฤตโควิด-19 ไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ 0.01 ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับธุรกิจบริษัทรับเหมาก่อสร้างในสภาวะวิกฤตโควิด-19 ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงคุณลักษณะและกลยุทธ์ผู้ประกอบการในการดำเนินธุรกิจนำไปสู่ความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2563). คู่มือดูแลสังคมจิตใจบุคลากรสุขภาพในภาวะวิกฤตโควิด-19. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการจัดบริการเพื่อรองรับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของสถาบัน/โรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต ฉบับที่ 1/2563. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

กฤตวรรณ พริ้งสกุล. (2558). ปัจจัยเกื้อหนุนกลยุทธ์การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันธุรกิจ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 3(2),97-107.

กมลพร กัลยาณมิตร (2564). การนำกลยุทธ์การบริหารสู่การปฏิบัติ ในรูปแบบความปกติใหม่ (New Normal). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 402 - 422.

จารุพร ขันธนันท์ และวสุธิดา นุริตมนต์. (2562). คุณลักษณะของผู้ประกอบการและกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่ส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม: กรณีศึกษาลูกค้าของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคกลางของประเทศไทย. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(108), 132-144.

ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2552). การจัดการเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2561). กลยุทธ์การจัดการความสุขในการทำงานขององค์การ: ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลลัพธ์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธีรวุฒิ เอกะกลุ. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

บุญเรือน ทองทิพย์. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กับศักยภาพของผู้นำ ต่อการพัฒนาองค์การแบบ New Normal.วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(1), 434-446.

พีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). ภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.).วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 60-71.

ศิราณี เมฆลอย. (2564).การบริหารจัดการคุณภาพการบริการโรงแรมขนาดเล็ก ที่มีอิทธิพลต่อปัจจัยทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักของนักท่องเที่ยวชาวไทยในอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. ในเอกสารการจัดประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ (ครั้งที่ 18). มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. เรื่องก้าวนำสังคมวิถีชีวิตใหม่ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม. หน้า 176- 184.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2552). การบริหารการตลาดยุคใหม่. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสาร.

สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สุรีรัตน์ ชดช้อย. (2560). อิทธิพลการกำกับของการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อความภักดีของลูกค้า อย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ (ปริญญาบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรุณกมล ศุขเอนก. (2562). กลยุทธ์การบริหารจัดการของธนาคารพาณิชย์เอกชนสู่การเป็นองค์การสมรรถนะสูง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Berger-Walliser, G., Bird, Robert C., & Haapio, H. (2011). Promoting business success through contract visualization. Journal of Law, Business, and Ethics,17, 55-75.

Chittithaworn, C., Islam A., Keawchana T., & Hasliza, D. (2001). Factors Affecting Business Success of Small & Medium Enterprises (SMEs) in Thailand. Asian Social Science, 7(5), 180 -190.

Verbano,C., Venturini, K. (2013). Managing Risks in SMEs: A Literature Review and Research Agenda. Journal of Technology Management and Innovation, 8(3), 186-197.

Frese, M., Stefanie I Krauss., Christian Friedrich., & Jens M Unger. (2000). Entrepreneurial orientation: A psychological model of success among southern African small business owners. European journal of work and organizational psychology, 14(3), 315-344.

Fache , W. (2000). Methodologies for innovation and improvement of services in tourism. Managing Service Quality, 10(6), 356-66.

Kotler, P. & Keller, K.L. (2006). Marketing management, 12th ed. NJ: Pearson International.

Kotler, P. (2001). Principles of Marketing, 2nd edition, Hemel Hempstead: Prentice‐Hall.

Kotler, P. (2000). Marketing Management. 10th ed., New Jersey: Prentice-Hall.

Kotler, P. (1994). Marketing Management Analysis, Planning, Implementation, and control, 8th ed., New York: Prentice hall.

Nadiri, H. and Hussain, K. (2005). Perceptions of service quality in north Cyprus hotels. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 17(6), 469-480.

Oh, H. and Parks, S.C. (1997). Customer satisfaction and service quality: a critical review of the literature and research implications for the hospitality industry.Hospitality Research Journal,20(3), 35-64.

Pletnev D.a & Barkhatov V.a. (2016). Business Success of Small and Medium Sized Enterprises in Russia and Social Responsibility of Managers. Procedia-Social and Behavioral Sciences,221(2),185-193.

Parasuraman, A., Ziethaml, V. & Berry, L. (1985). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. the Journal of Marketing, 49(4), 41-50.

Parasuraman, A., Zeithaml, A. & Berry, L.(1990). An Empirical Examination of Relationships in an Extended Service Quality Model. Marketing Science Institute Research Program Series,12, 90-122.

Seth, N., Deshmukh, S.G. and Vrat, P. (2005). Service quality models: a review. Iternational Journal of Quality & Reliability Management, 22(9), 913-949.

Zimmerer, T.W. & Scarborough, N.M. (1996). Entrepreneurship and New Venture Formation. New York: Prentice Hall.