กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริการโรงแรมขนาดเล็กจากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของผู้ประกอบการ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ศิราณี เมฆลอย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริการโรงแรมขนาดเล็กจากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 2)เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักจากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19
3)เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดและคุณภาพการบริการโรงแรมขนาดเล็กจากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของผู้ประกอบการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้สูตรเครจซี่และมอร์แกนรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.878 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่า t-test ค่า F-test ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ


 ผลการศึกษาพบว่า


  1. การเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการที่พักจากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่าโดยภาพรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  2. กลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการบริการโรงแรมขนาดเล็กจากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ของผู้ประกอบการในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่าทุกด้านมีความสัมพันธ์ในระดับสูง โดยด้านความน่าเชื่อถือสูงสุด (r = . 842) การวิเคราะห์พหุเชิงชั้นความสัมพันธ์ตัวแปรที่โมเดลที่ดีที่สุด ได้แก่ (R2= 0.75, R2Adjusted=0.73, Sr2=3.34, F=15.32, p<0.001) ประกอบด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ (β=0.72) และด้านราคา (β=0.44) ตามลำดับ

3. ข้อเสนอวิจัยในครั้งนี้ ต้องวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด พร้อมทั้งคุณภาพการบริการให้สอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยว รวมถึงมีการพัฒนาช่องทางการรับรู้ข่าวสารด้านความเสี่ยงการควบคุมโรคเพื่อให้รู้สึกปลอดภัยในการเลือกใช้บริการที่พักจากสภาวะการแพร่ระบาดโรคโควิด-19
ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามมาตรฐานสากลต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด-19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กอบสิทธิ์ ศิลปชัย. (2563). แนวโน้มเศรษฐกิจ. กรุงเทพฯ : ธนาคารกสิกรไทย.

กัลยา สร้อยสิงห์. (2558). ความคาดหวังและการรับรู้ต่อความพึงพอใจในคุณภาพการบริการของผู้ใช้บริการโรงแรมในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี (รายงานการวิจัย). คณะอุตสาหกรรมบริการ วิทยาลัยดุสิตธานี ศูนย์การศึกษาเมืองพัทยา.

กมลพร กัลยาณมิตร (2564). การนำกลยุทธ์การบริหารสู่การปฏิบัติ ในรูปแบบความปกติใหม่ (New Normal). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 402 - 422.

จติกา คุ้มเรือน. (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดและการเลือกใช้บริการโรงแรม 4 ดาว ของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตเมืองพัทยา (สารนิพนธ์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: วิทยาลัยดุสิตธานี.

ณัฐพร ดอกบุญนาค และฐาปกรณ์ ทองคำนุช. (2558). ความต้องการเลือกใช้โรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี (รายงานการวิจัยกองทุนส่งเสริมการวิจัย) .มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณ.

ณัฏฐ์นรี แก้วจันทร์เพชร. (2556). พฤติกรรมและปัจจัยสวนประสมทางการตลาดที่นักท่องเที่ยวให้ความสำคัญในการท่องเที่ยวเขื่อนรัชชประภา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. ในการประชุมวิชาการระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยกรุงเทพ. หน้า 264-273.

ธัญพรนภัส แฟงสม. (2556). วิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนาการตลาดของโรงแรมระดับ 4 ดาวเครือภายในประเทศในเขตเมืองพัทยา. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 8(1),49-60.

ธีรกิติ นวรัตน ณ อยุธยา. (2552). การตลาดบริการ แนวคิดและกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนาคารกรุงไทย. (2563). แนวโน้มธุรกิจท่องเที่ยวในปี 2020. กรุงเทพฯ: ธนาคารกรุงไทย.

ธนะพัฒน์ วิริต. (2563). รูปแบบการเตรียมชุมชนเพื่อสงเสริมการออกกำลังกายผู้สูงอายุในหน่วยปฐมภูมิของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแหงชาติ กรุงเทพมหานคร. ในเอกสารการจัดประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ (ครั้งที่ 17). มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. หน้า 76 - 89.

ธนะพัฒน์ วิริต. (2564). ภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีต่อผลสำเร็จในการพัฒนา องค์การสมัยใหม่ : กรณีศึกษา สายงานปฏิบัติการนครหลวง บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด. ในเอกสารการจัดประชุมวิชาการและนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ (ครั้งที่ 18). มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น. หน้า 129- 137.

พีระพงษ์ วรภัทร์ถิระกุล. (2564). ภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7(2), 60-71.

พจน์ ใจชาญสุขกิจ. (2563). ประเทศไทยกับการรับมือ และสื่อสารภาวะวิกฤติจากผลกระทบของไวรัสสายพันธุ์ใหม่. กรุงเทพฯ: EXPERT COMMUNICATIONS.

พงษ์มนัส ดีอด. (2563). ผลกระทบของการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา 2019 ต่อการประกอบอาชีพ บริการจัดส่งอาหาร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(6), 131-144.

ป้องศักดิ์ ทองเนื้อแข็ง. (2558). วิจัยเรื่องปัจจัยที่กำหนดในการเลือกที่พัก รวมถึงวัดระดับความพึงพอใจของผู้เข้าพักที่มีต่อการบริการของสงขลาพาเลซ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.

ภาสกรณ์ อักกะโชติกุล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้บริการที่พักประเภท โรงแรมรายวันของนักท่องเที่ยวชาวไทย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มาลินี สนธิมูล และอิทธิกร ขำเดช. (2557). วิจัยเรื่องความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อการใช้บริการโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุนการตลาดและการบริหารธุรกิจ, 4(2),204-217.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตติดโรคติดต่ออันตราย กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19). (2563, 5 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนพิเศษ 93. หน้า 16.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2564, จาก http://ittdashboard.nso.go.th/covid19 survey.php

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). คู่มือการจัดทําาแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2564, จาก http://www.opdc.go.th

สุธา พงศ์ถาวรภิญโญ. (2562). กลยุทธ์การสร้างสรรค์คุณค่าร่วมที่ส่งผลต่อความผูกพันของลูกค้าในโรงแรมระดับ 3 ดาว เมืองพัทยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Huang Z. and Cai L.A. (2015). Modeling consumer-based brand equity for multinational hotel brands–When hosts become guests. Tourism Management, 46,431-443.

Kontis A.P. and Lagos D. (2015). Factor framework for the evaluation of multichannel marketing mixes in 5 City Hotels. Procedia-Social and Behavioral Sciences, 175(1),408-414.

Kotler, P. (1997).Marketing management: analysis, planning implementation and control. (9th ed). New Jersey: Asimmon &Schuster.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.