ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การคิดเชิงคำนวณที่มีต่อความสามารถ ด้านการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย

Main Article Content

รัตติกาล จตุพรเทียนชัย
ชลาธิป สมาหิโต
อรพรรณ บุตรกตัญญู

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลของการเปรียบเทียบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การคิดเชิงคำนวณที่มีต่อความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทดลอง (Experimental Research) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนปฐมวัย เพศชาย – เพศหญิง กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีอายุระหว่าง 6 – 7 ปี โรงเรียนทอสี กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2562 จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การคิดเชิงคำนวณที่มีต่อความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย จำนวน 24 แผน แบบประเมินเชิงปฏิบัติการวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและแบบบันทึกพฤติกรรมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่านักเรียนระดับปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การคิดเชิงคำนวณ
มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง โดยก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 40.70 ส่วนเปี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 13.85 และหลังการทดลองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 76.87 ส่วนเปี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.39 โดยนักเรียนระดับปฐมวัยมีทักษะการคิดแก้ปัญหาเพิ่มขึ้นทั้ง 4 ขั้นได้แก่ ขั้นการตรวจสอบผล ขั้นทำความเข้าใจปัญหา ขั้นดำเนินการตามแผน ขั้นวางแผนการแก้ปัญหา ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เบรน เบส บุ๊ค.

ดวงพร ผกามาศ. (2554). ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมประกอบอาหารประเภทขนม. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2562, จาก http://thesis.swu.ac.th/swuthesis /Ear_Chi_Ed/Duangporn_Pa.pdf

นุชลี อุปภัย. (2558). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: บริษัทวี.พริ้นท์ (1991) จำกัด.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

พรสุดา เพ็ชรเลิศ. (2560). การส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2563, จาก http://research.msu.ac.th/msu_journal/upload/ articles/article2259_30099.pdf

พิชญานิน ศิริหล้า. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวฉันทศึกษา เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) และการทำงานเป็นทีม ในวิชาฉันทศึกษา สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2563, จาก http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/310/1/gs571130081.pdf

ศุภวัฒน์ ทรัพย์เกิด. (2559). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงประมวลผล ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา วิชาการโปรแกรมและการประยุกต์. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2563, จาก http://fulltext.rmu.ac.th/fulltext/2559/121281/

สำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม . (2562). การเรียนการสอนคอมพิวติ้ง. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2562, จาก www.chaisri-nites.hi-supervisory5.net/computing

สำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). หลักสูตรฝึกอบรมเชิงปฎิบัติการการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะด้านโค้ดดิ้งสู่สังคมดิจิทัลในอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สุวัฒน์ วิวัฒานานนท์. (2560). ปรัชญาการศึกษาไทยตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิทย์ มูลคำ. (2551). กลยุทธ์การสอนคิดแก้ปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

Baltic J. Modern. (2016). A Framework for Computational Thinking Based on a Systematic Research Review, October 7, 2019, from https://www.researchgate.net/publication/303943002_A_Frame work_for_Computational_Thinking_Based_on_a_Systematic_Research_Review

Jeannette M. Wing. (2016). Computational thinking and thinking about computing, March 14, 2019, from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2696102/

Polya G. (1957). Polya’s Problem Solving Techniques, March 14, 2019, from https://math.berkeley.edu/ ~gmelvin/polya.pdf