ผลของการใช้ชุดกิจกรรม “เด็กปฐมวัยรู้รักษ์สิ่งแวดล้อม” ที่มีต่อการรู้สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ศิวาลัย สุทธิประภา
ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร
อรพรรณ บุตรกตัญญู

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบการรู้สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรม “เด็กปฐมวัยรู้รักษ์สิ่งแวดล้อม” กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา คือ เด็กปฐมวัยชาย-หญิง ที่มีอายุระหว่าง 5 - 6 ปี กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562โรงเรียนนาหลวง เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร จำนวนเด็ก 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรม “เด็กปฐมวัยรู้รักษ์สิ่งแวดล้อม” ทั้งหมด 8 กิจกรรม ดำเนินกิจกรรมละ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ 2) แบบประเมินการรู้สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยประกอบด้วย ด้านระบบความสัมพันธ์
ด้านการเคารพ และด้านการมีส่วนร่วม 3) แบบสังเกตการรู้สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษาพบว่า เด็กปฐมวัยที่ได้รับการใช้ชุดกิจกรรม “เด็กปฐมวัยรู้รักษ์สิ่งแวดล้อม”                          มีคะแนนเฉลี่ยการรู้สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัยสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรม ก่อนการทดลอง
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.15 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.94 และหลังการใช้ชุดกิจกรรม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 19.53 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.06 โดยเด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมการรู้สิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเคารพ ด้านการมีส่วนร่วม และด้านระบบความสัมพันธ์ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
สุทธิประภา ศ., หิรัณย์ชโลทร ป., & บุตรกตัญญู อ. (2022). ผลของการใช้ชุดกิจกรรม “เด็กปฐมวัยรู้รักษ์สิ่งแวดล้อม” ที่มีต่อการรู้สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(2), 352–365. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/255844
บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา บุนนาค. (2561). การเล่นบทบาทสมมติ (Role Playing) กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2563, จาก https://www.youngciety.com/article/learning/roleplaying.html

จิรพล สินธุนาวา. (2556). รักษ์สิ่งแวดล้อม “วันคุ้มครองโลก” ลงมือทำหรือยัง. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/20089-รักษ์สิ่งแวดล้อม%20“วันคุ้มครองโลก”%20ลงมือทำหรือยัง.html?download

ชลาธิป สมาหิโต. (2562). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานสำหรับเด็กปฐมวัย.วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(1), 113-129.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). การประยุกต์ใช้ Active Learning ในการเรียนการสอน. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2563, จาก https://www.trueplookpanya.com/education/content/70793/-teaartedu-teaart-

พิกุล เกิดปลั่ง. (2554). ผลการใช้ชุดกิจกรรมการจัดประสบการณ์แบบโครงการโดยใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของเด็กปฐมวัย (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ศันศนีย์ กีรติวิริยาภรณ์. (2558). รู้รักษ์ “สิ่งแวดล้อม” ปรับชีวิตให้สมดุล. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2562, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/28523-รู้รักษ์%20“สิ่งแวดล้อม”%20ปรับชีวิตให้สมดุล.html

สุภาวดี คะระนันท์. (2554). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เสาวนีย์ จันทร์ที. (2546). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากธรรมชาติตามรูปแบบจิตปัญญาที่มีต่อการรับรู้การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กปฐมวัย (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรนครินทรวิโรฒ.

จินตนา ประชุมพันธ์. (2562). PM2.5 ฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศ กับวิกฤตสุขภาพที่คนไทยจะต้องแลก. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562, จาก https://thestandard.co/pm-2-5-environmental-nano-pollutants/

จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์. (2557). ทักษะทางสังคม. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2562,จาก http://jareeluk.blogspot.com/2014/09/blog-post_27.html

District Department of the Environment. (2012). DC ENVIRONMENTAL LITERACY PLAN Integrating Environmental Education into the K-12 Curriculum. Retrieved October 7, 2019, from https://doee.dc.gov/sites/default/files/dc/sites/ddoe/service_content/attachments/DCELP_Final_June_2012.pdf

European Union. (2016). Classification of learning activities (CLA). Retrieved December 13, 2019, from https://ec.europa.eu/eurostat/documents/3859598/7659750/KS-GQ-15-011-EN-N.pdf/978de2eb-5fc9-4447-84d6-d0b5f7bee723

North American Association for Environmental Education. (2011). Wisconsin’s Plan to Advance Education for Environmental Literacy and Sustainability in PK-12 Schools. Retrieved October 7, 2019, from https://dpi.wi.gov/sites/default/files/imce/cal/pdf/env-literacy-plan.pdf

Osse. (2017). 2017 DC Environmental Literacy Plan Integrating Environmental Education into the K-12 Curriculum. Retrieved October 7, 2019, from https://osse.dc.gov/sites/default/files/dc/sites/ osse/page_content/attachments/2017%20Environmental%20Literacy%20Plan.pdf

Peace Corps. (2017). Environmental Activities for Youth Clubs and Camps. Retrieved October 7, 2019, from https://files.peacecorps.gov/documents/PC_Environmental_Activities_508_mNd3UVx.pdf

Unicef.(2019).Unicef Early Childhood Development Kit For Emergencies. Retrieved December 13, 2019, from https://www.unicef.org/evaldatabase/files/UNICEF_ECD_Kit_Synthesis.pdf