สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทางการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลยโสธร

Main Article Content

เรวัต วามะลุน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลยโสธร 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลยโสธร ประชากรในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรของโรงเรียนอนุบาลยโสธร จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNI Modified  ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลยโสธรในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนอนุบาลยโสธรมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันทุกด้าน 2) แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลยโสธรในภาพรวม พบว่า ด้านการออกแบบกิจกรรมเป็นด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านการประเมินและจัดลำดับความจำเป็นและด้านการปฏิบัติกิจกรรม ตามลำดับ ส่วน ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ ด้านการประเมินผลกิจกรรม

Article Details

How to Cite
วามะลุน เ. (2022). สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ทางการศึกษาของโรงเรียนอนุบาลยโสธร . วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 798–808. https://doi.org/10.14456/jeir.2022.15
บท
บทความวิจัย

References

ขัตติยา ด้วงสำราญ. (2564). ศึกษาความสัมพันธ์ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับการระดมทรัพยากรของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 501-512.

จุมพล โพธิสุวรรณ. (2564). พฤติกรรมผู้นำเชิงยุทธศาสตร์. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 135-148.

ชุติกาญจน์ ศรีวิบูลย์. (2557). หลักบริหารพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: เพชรสำนักพิมพ์.

ชูชัย สมิทธิไกร.(2541). รายงานการวิจัย เรื่องการจัดหาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์การ ธุรกิจในประเทศไทย: การเปรียบเทียบระหว่างองค์การที่มีผลการดำเนินงานดีและไม่ดี. เชียงใหม่: ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โชติชวัล ฟูกิจกาญจน์. (2556). กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์, 4(1), 33-45.

ทิพสุคนธ์ บุญรอด และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2564). ภาวะผู้นำมุ่งบริการของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 486-500.

พยอม วงศ์สารศรี. (2552). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ไพผกา ผิวดำ. (2564). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 11-18.

ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2556). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุทธาวรรณ ภาณุรัตน์. (2560). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนขจรโรจน์วิทยา. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 12(2), 323-337.

สุธินี ฤกษ์ขำ. (2557). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

โสมวลี ชยามฤต. (2564). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับยุคดิจิทัลขององค์การภาครัฐและเอกชน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(1), 38-50.

Damnoen, P. S., Phumphongkhochasorn, P., Pornpitchanarong, S., & Nanposri, N. (2021). Development of Strategies for the Use of Innovative Information in Education for Secondary Schools under the Office of the Basic Education Commission in the Eastern Region. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20483–20490.

Desimone, R. L. and Harris, D.M. (1998). Human Resource Development. (2nded.). Orlando: The Dryden Press.

Maslow, A.H. (1970). Motivation and Personality. (2nd ed.) New York: Harper & Row.

Phumphongkhochasorn, P., Damnoen, P. S., Suwannaprateep, T., & Phoomparmarn, U. (2021). National Educational Standards and the Improvement of Thai Education System with World Class. Asia Pacific Journal of Religions and Cultures, 5(1), 75-86.

Songsraboon, R., Thongtao, J., Damnoen, P. S., & Huanjit, P. S. (2021). Course Management Based on Outcome-Based Education (OBE) of Learning by Working in Real Conditions. Turkish Journal of Physiotherapy and Rehabilitation, 32(3), 20491–20499.

Yorks, L. (2005). Strategic human resource development. South Western Thomson: Mason.