การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่อง คำควบกล้ำ โดยใช้แบบฝึกทักษะกับการเรียนแบบปกติ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดลานบุญ

Main Article Content

อรพรรณ ภูกันหา
ศิริพัชร์ เจษฎาวิโรจน์

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะวิชาภาษาไทยเรื่องคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดลานบุญประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องคำควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดลานบุญ ระหว่างการสอนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ กับการสอนแบบปกติ 3)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่องคำควบกล้ำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดลานบุญ  ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวนห้องละ 30 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกแบบสุ่มอย่างง่าย (Simple  Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) แบบฝึกทักทะวิชาภาษาไทย เรื่องคำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 เล่ม (2) แผนการจัดการเรียนรู้ที่สอนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่องคำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องคำควบกล้ำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาภาษาไทย เรื่องคำควบกล้ำ  สถิติในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที t-test for dependent sample


ผลการวิจัยปรากฏดังนี้


  1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักทะวิชาภาษาไทย เรื่องคำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดลานบุญ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 77.83/ 82.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80
    ที่กำหนดไว้

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องคำควบกล้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดลานบุญ มีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กติกา สุวรรณสมพงศ์. (2541). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้ และเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์เรื่องเวลา และเงินของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โดย ได้รับการสอนแบบวรรณีที่ใช้แบบฝึกหัดที่สร้างขึ้นกับแบบฝึกหัดในหนังสือเรียน (ปริญญานิพนธ์การศึกษมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กรรณิการ์ กิมาลย์. (2547). การพัฒนาทักษะการอ่านคำควบกล้ำโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือกันเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

กัลยา ชมสะอาด. (2542). การสร้างแบบฝึกการอ่านคำที่มีตัวสะกดตรงตามมาตราตัวสะกดไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

เกศริน อิ่มเล็ก.(2545). แบบฝึกพัฒนาการอ่านอย่างมีวจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

ฉลาด สมพงษ์. (2547). การสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะการเขียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสายธารวิทยา อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดกรมสามัญ ศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย มหาสารคาม.

ชลนิชา เลิศนพคุณวงศ์. (2543). การสร้างและทดลองใช้แบบฝึกการเขียนสะกดคำและแจกลูกภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. บุรีรัมย์ : สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดบุรีรัมย์.

ถวัลย์ มาศจรัส และคณะ. (2550). แบบฝึกหัด แบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ผู้เรียนและการ จัดทำ ผลงานวิชาการของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

ปานดาว วาดโคกสูง. (2547). การพัฒนาแผนการเรียนรู้การอ่านและการเขียนค้าควบกล้ำ ร ล ว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะ (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พนมวัน วรดลย์. (2542).การสร้างแบบฝึกทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 (ปริญญานิพนธ์การศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2551). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Back ward design. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศรีปัญญา อยู่สอน. (2527). การเปรียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านในใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้และไม่ใช้แบบฝึกโรงเรียนวัดอัมรินทรารามกรุงเทพมหานคร (ปริญญานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สกุณา เลิกนอก. (2545). การศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียนสะกดคำยากโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2537). การจัดการศึกษาเพื่อปวงชนของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร. (อัดสำเนา).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.2543. รายงานการเสวนาทางวิชาการ มิติใหม่ของการ ประเมินผล:การเรียนที่ เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.

สุจริต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. (2542). วิธีสอนภาษาไทยระดับมัธยมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2544). การผลิตนวัตกรรมการเรียนการสอน การสร้างแบบฝึก. ชัยนาท: ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.

สุพัตรา วงศ์จิระกิจ. (2551). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนคำควบกล้ำวิชาภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอนุบาลบ้านกรวด อำเภอบ้านกรวดจังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุวิทย์มูลคำและสุนันทา สุนทรประเสริฐ. (2550). ผลงานทางวิชาการสู่การเลื่อนวิทยฐานะ. กรุงเทพฯ:

อี เค บุคส์.

เสงี่ยม โตรัตน์.(2546). การสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร,67 (82), 28

อนงค์ศิริ วิชาลัย. (2536). ผลการใช้คำพื้นบ้านลานนาเพื่อพัฒนาความเข้าใจการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที 6. พะเยา: สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพะเยา.

อานงค์ ใจรังกา.( 2547).การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำ ควบกล้ำ ร ล ว. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

อุษา แข็งขัน. (2545). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชา ภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกทักษะการสะกดคำสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.