การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง หลักธรรมทาง พระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดหนูบัวเบิกบานธรรม กับการสอนแบบปกติ

Main Article Content

รัตนาภรณ์ มามีใย
กรวิภา สรรพกิจจำนง

บทคัดย่อ

        บทความนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดหนูบัวเบิกบานธรรม  เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการสอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดหนูบัวเบิกบานธรรม กับการสอนแบบปกติ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม สำนักงานเขตดุสิต สังกัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน สถิติในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที t-test for dependent sample ผลการวิจัยพบว่า


  1. ประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดหนูบัวเบิกบานธรรม  เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.86/ 82.40 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80

  2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดหนูบัวเบิกบานธรรม สูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ.(2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จงจรัส แจ่มจันทร์. (2554). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน วิชาพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.

ประภากร นูวบุตร. (2554). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระ การ เรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

พจนา ศรีกระจ่าง. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 9 (1), 154-165.

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2551). E-BOOK หนังสือพูดได้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ฐานการพิมพ์.

ราวรรณ แสงอยู่ และ วัชราภรณ์ แก้วดี (2557). ผลของการใช้วงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคการใช้คำถามตามแนวคิดของออสบอร์นที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารอิเล็คทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(4), 337-351.

โรงเรียนวัดประชาระบือธรรม. (2560). หลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: กลุ่มงานวิชาการโรงเรียน.

วราภรณ์ บัวงาม. (2555). ผลของการใช้รูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับเทคนิคเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการทำงานเป็นกลุ่มของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารอิเล็คทรอนิกส์ทางการศึกษา, 8(1), 2353-2364.

อัญญาพัชร ใจชื่น และคณะ. (2548). การสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งแวดล้อม สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Khin Thida Soe. (2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง มาตรตัวสะกดไทย สำหรับนักศึกษาเมียนมา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศย่างกุ้ง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Nasser Saleh Al-Mansour. (2012). The effect of computer-assisted instruction on Saudi University students’ learning of English. Journal of King Saud University– Languages and Translation, 24,(1), 51-56.

Chen, C. (2011). The Relationship between E-book Users’ Learning Performance and Related Factors. Retrieved March 7, 2012, from http://www.editlib.org/p/37332