การประยุกต์ใช้ระบบการผลิตแบบลีน เพื่อลดต้นทุนในกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์คอลลาเจน ชนิดผง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำระบบการผลิตแบบลีนมาประยุกต์ใช้ในการทำงานจริง เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตของผลิตภัณฑ์ และลดต้นทุนสินค้าในผลิตภัณฑ์คอลลาเจน ชนิดผง ของบริษัท โรงงานเภสัชอุตสาหกรรม เจเอสพี (ประเทศไทย) จำกัด โดยการศึกษาได้ใช้หลักการวิเคราะห์ความสูญเปล่า 7 ประการ การดำเนินงานเริ่มจากศึกษากระบวนการผลิต โดยวิเคราะห์กระบวนการการผลิตว่าเกิดความสูญเปล่าหรือไม่ โดยใช้แผนภาพแสดงสาเหตุและผล และใช้หลักการวิเคราะห์ความสูญเปล่า 7 ประการ พบว่ามีความสูญเปล่าเกิดขึ้น ซึ่งเกิดจากมีขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซ้อน การใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่เกินความจำเป็น และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ไม่มีความเหมาะสม หลังจากดำเนินการปรับปรุงลดขั้นตอนทำงานที่ซ้ำซ้อนออก โดยการปรับเปลี่ยนการใช้ถุงสวมกล่อง เป็นการติดสติ๊กเกอร์ปิดฝากล่องแทน และปรับปรุงบรรจุภัณฑ์ให้มีขนาดเล็กลงให้พอดีกับซอง ปรากฏว่าสามารถลดต้นทุนผลิตภัณฑ์ลงได้ 0.79บาทต่อกล่อง หรือร้อยละ 0.35 และสามารถลดระยะเวลาการผลิต 32.88 ชั่วโมงต่อ 1 ครั้งการผลิต หรือร้อยละ 14.04
Article Details
References
อินโนกราฟฟิกส์.
ประภาศรี พงศ์ธนาพานิช. (2555). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามแนวคิดการผลิตแบบลีนเพื่อการผลิตที่ยั่งยืน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 4(1), 123 - 132.
ปรียาวดี ผลอเนก. (2556). การจัดการคุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Feld, W. M. (2001). Lean Manufacturing: Tools, techniques, and how to use them. Florida: St. Lucie Press.
Lee, M. K. O., & Turban, E. (2001). A trust model for consumer internet shopping. International Journal of Electronic Commerce, 6(1), 75-91.
McCullen, P. and Towill, D. (2001). Achieving lean supply through agile manufacturing. Integrated Manufacturing Systems, 12, 524 - 533.
Ngai, E. W. T. (2005). Customer relationship management research. An academic literature review and classification. Journal of Marketing, 39(11/12), 582-605
Nickels, W. G., McHugh, J. M., & McHugh, S. M. (2002). Understanding Business (6th ed.). New York: McGraw-Hill.
Schoder, D., & Madeja, N. (2004). Is customer relationship management a success factor in electronic commerce?. Journal of Electronic Commerce Research, 5(1), 38-53.