การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ระหว่างการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพปริศนา ชุด หนูดีรักผลไม้ กับการจัดประสบการณ์แบบปกติ

Main Article Content

พิทยาภรณ์ จิตรสังวรณ์
กรวิภา สรรพกิจจำนง

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือภาพปริศนา ชุด หนูดีรักผลไม้ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนระหว่าง การจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพปริศนา ชุด หนูดีรักผลไม้ กับการจัดประสบการณ์แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวัดผลความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนคลองหนองใหญ่ (ทองคำ ปานขำอนุสรณ์) สำนักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการเลือกสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ (1) หนังสือภาพปริศนา ชุด หนูดีรักผลไม้ (2) แผนการจัดประสบการณ์ (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า


  1. หนังสือภาพปริศนา ชุด หนูดีรักผลไม้ มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.03/82.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด E1/E2 คือ 80/80

  2. ผลการวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยระหว่างการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพปริศนา ชุด หนูดีรักผลไม้ สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
จิตรสังวรณ์ พ., & สรรพกิจจำนง ก. . . (2021). การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ระหว่างการจัดประสบการณ์โดยใช้หนังสือภาพปริศนา ชุด หนูดีรักผลไม้ กับการจัดประสบการณ์แบบปกติ. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 318–330. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/248379
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

จุไรรัตน์ มณีฉาย. (2558). ผลการใช้หนังสือนิทานประกอบภาพเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ประกอบกิจกรรมการเล่านิทาน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย.

ชนาธิป พรกุล. (2557). การสอนกระบวนการคิดทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และพิรุณ อนวัชศิริวงศ์.(2561). ปลดล็อก วิกฤตพัฒนาการเด็กด้วยการอ่าน. กรุงเทพฯ: แปลน พริ้นท์ติ้ง จำกัด.

นาถศจี สงค์อินทร์. (2561). การพัฒนาหนังสือประกอบคำคล้องจอง Big & Small book เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านของเด็กปฐมวัยตามแนวทาง Brain-based learning. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์,12(1), 101-115.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วน จำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ปิยพร พานทอง. (2560). การส่งเสริมการฟังและการพูดโดยใช้ปริศนาคำทายของเด็กปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลบึงบา (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

พิรุณ อนวัชศิริวงศ์ และถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์. (2553). เปิด 108 หนังสือดี เปิดหน้าต่างแห่งโอกาสในการพัฒนาเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

มัธยม เรืองแสน และคณะ. (2561). การใช้ชุดการเรียนปริศนาคำทายเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงเหตุผล และการคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ, 4, 1038-1044.

สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. (2560). 10 CHECKLIST สุขด้วยปัญญา เก่งดีมีสุข. กรุงเทพฯ: พรรณีการพิมพ์.