การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดนิทานเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บิวตี้เต่าน้อยผู้น่ารัก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว

Main Article Content

ธนชิต ธรรมใจ
อภิชา แดงจำรูญ

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดนิทานเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บิวตี้เต่าน้อยผู้น่ารัก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์ 85/85 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดนิทานเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บิวตี้เต่าน้อยผู้น่ารัก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว สำนักงานวังทองหลาง สังกัดกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน สถิติในการทดสอบสมมติฐาน ไดแก่ การทดสอบค่าที t-test for dependent sample ผลการวิจัยพบว่า
          1. ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดนิทานเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บิวตี้เต่าน้อย ผู้น่ารัก สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.73/ 83.56 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 85/85
          2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ทศนิยม คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
          3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดนิทานเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง บิวตี้เต่าน้อยผู้น่ารัก อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลภรณ์ พรมปัน. (2559). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องนิทานก้อมไทหล่มสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านบุ่งคล้า จังหวัดเพชรบูรณ์ (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กรองแก้ว ศรีสุมานันท์. (2559). การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด รักน้ำตกวังก้านเหลือง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กฤษณา คำสิทธิ. (2556). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่อง ชุมชนแม่เหียะของเรา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยชียงใหม่.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556).การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20.

ถวัลย์ มาศจรัส.(2551). การพัฒนาคุณภาพผลงานทางวิชาการด้วยนวัตกรรม 3 มิติ. กรุงเทพฯ: 21เซ็นจูรี.

ปรีชญา วันแว่น. (2551). การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญแบบคิดวิเคราะห์จากบทความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

ปวีณา สง่าศรี. (2558). การออกแบบหนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (การค้นคว้าแบบอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิมพ์จิต ตปนียะ. (2555). นักวาดภาพประกอบหนังสือสำหรับเด็กต้องเรียนรู้อะไรบ้าง?.วารสารศิลปกรรมสาร, 7(1), 45-61.

โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว, กลุ่มงานวิชาการ. (2562). รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ปีการศึกษา 2562 ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงเรียนสุเหร่าลาดพร้าว.

สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2562). คู่มือการจัดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.niets.or.th/th/catalog/view/251/

สุดใจ แซ่เอี้ย. (2557). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม สาระที่ 1 การดำรงชีวิตและครอบครัว กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.

อภิชา แดงจำรูญ. (2563). ทักษะชีวิต. หนังสือชุดครูผู้สร้างแรงบันดาลใจ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารยา ยุวนะเตมีย์. (2560). การเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการการรับรู้ความสามารถ ของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใช้วิธีการประเมินตนเองต่างกัน: วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์และแบบสอบถามปลายเปิด. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13(1), 270-284.