นวัตกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ตามแนวศาสตร์พระราชาผ่านเศรษฐกิจชุมชน เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองวิถีเขียว สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือตอนบนประเทศไทย

Main Article Content

ชรินทร์ มั่งคั่ง
ชญานิตย์ ยิ้มสวัสดิ์
นิติกร แก้วปัญญา

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการและปัญหาการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ตามแนวศาสตร์พระราชาผ่านเศรษฐกิจชุมชนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองวิถีเขียว 2) เพื่อสร้างแผนการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้แนวคิดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ตามแนวศาสตร์พระราชาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษา จำนวน 7 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาจำนวน 150 คน รวมทั้งสิ้น 157 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการศึกษาความต้องการและปัญหาการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ จำเป็นต้องมีการพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองวิถีเขียว จำนวนทั้งสิ้น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองวิถีเขียว 2) ด้านพฤติกรรมวิถีเขียว และ 3) ด้านทัศนคติวิถีเขียว โดยมุ่งสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน ชุมชน เพื่อการเรียนรู้ที่ยั่งยืน

  2. ผลการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่าการจัดการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ เป็นการจัดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ (Action learning) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน เรียกว่า “UCDA Action Learning Approach (UALA)” โดยผลประเมินประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}= 4.58 ,SD = 0.57 )

  3. ผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า การจัดการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมทักษะความเป็นพลเมืองวิถีเขียวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}= 4.47, SD= 0.55)

Article Details

How to Cite
มั่งคั่ง ช., ยิ้มสวัสดิ์ ช. ., & แก้วปัญญา น. (2021). นวัตกรรมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ตามแนวศาสตร์พระราชาผ่านเศรษฐกิจชุมชน เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองวิถีเขียว สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือตอนบนประเทศไทย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 5(2), 207–222. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247975
บท
บทความวิจัย

References

ชรินทร์ มั่งคั่ง และคณะ. (2558). รายงานการวิจัยเรื่องการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นผ่านพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรม ชุมชนชาติพันธุ์บ้านผาด่าน ตำบลทากาศเหนือ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชรินทร์ มั่งคั่ง. (2561). การถ่ายทอดองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาของครูศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองวิถีเขียวของผู้เรียนในพื้นที่โครงการหลวง ภาคเหนือของไทย. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University, 11(1), 1503-1521.

ชรินทร์ มั่งคั่ง และคณะ. (2561). รายงานการวิจัยเรื่องศาสตร์พระราชา : การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ผ่านวัฒนธรรมเหมี้ยงเพื่อส่งเสริมพลเมืองวิถีเขียวในพื้นที่ต่างบริบทภาคเหนือของประเทศไทย. เชียงใหม่: ศูนย์ความเป็นเลิศพหุวิทยาการเกี่ยวกับเหมี้ยง (Center of Excellent for Multidisciplinary Approach to Miang), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ถิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ และพิรุณ อนวัชศิริวงศ์. (2561). MIDL for Kids การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลสำหรับเด็กปฐมวัย. มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ : บริษัท สุพีเรียพริ้นติ้งเฮาส์ จำกัด.

ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2556). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รักถิ่น เหลาหา. (2561). การจัดการความสัมพันธ์นักศึกษาด้วยแฟ้มกิจกรรมดิจิทัลโดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงสรรพสิ่งเพื่อการเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ลักษณา เกยุราพันธุ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชุมชนไทยพวนเพื่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ จังหวัดนครนายก. นครปฐม: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วุฒิ วรวิทย์พินิต และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้วิถีเมืองเพชรตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลป์, 10(2), 1657-1674.

โสภิดา วีรกุลเทวัญ. (2561). เท่าทันสื่อ : อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล. มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ : หจก.วนิดา การพิมพ์.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2554). ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง พ.ศ.2553-2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ที่ 2/2558. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2563, จาก https://www.nesdc.go.th/ ewt_news.php?nid=5203&filename=index.

อาคม ชาญเดช. (2558). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมวิชาสังคมศึกษา เรื่องเหมี้ยงศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดตันไคร้ จังหวัดแพร่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการศึกษา (สังคมศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

โอฬาร สุขเกษม. (10 - 13 สิงหาคม 2557). เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเกิดแน่ยุคนี้. ฐานเศรษฐกิจ AEC world, 34(2) 2, 72.

Amin, A., Cameron, A., Hudson, R. (2002). Placing the Social Economy. London: Routledge.

Hermsdorf, M. & Arndt K., F. ( 2018 ). Green Citizenship: Citizen Participation in the German "Energiewende". Germany: Faculty of Economics, University of Witten/Herdecke, Witten.

Graham, S. (2004). Liberal Democracy and the Shaping of Environmental Citizenship. In Liberal Democracy and Environmentalism: The End of Environmentalism?. London: Routledge.

Guckian, M., De Young, R., Harbo, S. (2017). Beyond Green Consumerism: Uncovering the Motivations of Green Citizenship. Michigan Journal of Sustainability, 5(1), 73-94.

Mattijssen J. M., T. (2015). Green citizen governance: citizens governing nature and landscape in the Netherlands. Conference: Seminar 'Citizens for Nature?', March 2015 At: Wageningen.

United nation. (2015). Sustainable Development Gold: SDGs. Retrieved May 19, 2020, from https://www.un.org/sustainabledevelopment/sustainable-development-goals/