การบริหารงานของวัดตามหลักธรรมาภิบาล

Main Article Content

ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์

บทคัดย่อ

วัดเป็นหน่วยงานปกครองและหน่วยงานดำเนินกิจการคณะสงฆ์ และกิจการพระพุทธศาสนาที่สำคัญที่สุด และเป็นฐานอันสำคัญยิ่งของคณะสงฆ์และพระพุทธศาสนา เป็นองค์กรหลักในการปกครองคณะสงฆ์ หลักเกณฑ์และวิธีการต่างๆเกี่ยวกับวัด ทรงตราไว้ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ทั้งสิ้น เช่นเดียวกับบทบัญญัติว่าด้วยมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นสถาบันหรือองค์กรปกครองคณะสงฆ์สูงสุด วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล คือบุคคลตามกฎหมาย ตามความในมาตรา 3 วรรคสอง และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 วัดจึงได้รับความคุ้มครองจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์และกฎหมายอื่นๆ วัดทั้งหลายย่อมมีสิทธิและหน้าที่ต่างๆ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังเช่นบุคคลธรรมดา เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ในการต่างๆเองมิได้ จำเป็นต้องมีผู้แทนเพื่อใช้สิทธิและหน้าที่หรือแสดงเจตนาแทน ดังเช่นบทบัญญัติในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มาตรา 3 วรรคสามว่า “เจ้าอาวาส เป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป” ดังนั้น เจ้าอาวาสเป็นทั้งผู้ปกครองวัดตามความในมาตรา 36 และเป็นผู้แทนวัดตามความในมาตรา 3 วรรค 3 ทั้งเป็นฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา ดังความแห่งมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ว่า ให้ถือว่าพระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งในการดำรงตำแหน่งในการปกครองคณะสงฆ์ และไวยาวัจกรเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา” เพราะเหตุนี้ ตำแหน่งเจ้าอาวาสจึงเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญยิ่งและสำหรับการบริหารวัดที่มหาเถรสมาคมกำหนดขึ้นนั้นมี 6 ประการคือ การปกครองคณะสงฆ์ การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การ สาธารณูปการ และการสาธารณสงเคราะห์ ดังนั้น การบริหารงานของวัดตามหลักธรรมาภิบาล มีประโยชน์เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนาให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย และให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2538). คู่มือการบริหารศึกษาคณะสงฆ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมศาสนา.
คะนึงนิตย์ จันทบุตร และสุบรรณ จันทบุตร. (2545). ความสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของวัด : ศึกษาเฉพาะกรณีวัดป่านานาชาติ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. กรุงเทพฯ: พริกหวาน
กราฟฟิค.
ไชยวัฒน์ ค้ำชู และคณะ. (2545). แนวทางการนำหลักธรรมาภิบาลมาประยุกต์ใช้กับองค์กรปกครองท้องถิ่น.กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
ณรงค์ นันทวรรธนะ. (2536). บริหารงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: หจก.ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
ธีรยุทธ บุญมี. (2541). ธรรมรัฐแห่งชาติยุทธศาสตร์กู้หายนะประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สายธาร.
ธีรวุฒิ ทองโอษฐ์. (2544). การศึกษาการปฏิบัติศาสนกิจของเจ้าอาวาสในจังหวัดร้อยเอ็ด(วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต).บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญร่วม เทียมจันทร์. (2546). เจ้าอาวาส เจ้าพนักงาน ใครกำหนด?. กรุงเทพฯ: สามดีพริ้นติ้ง อีควิปเม้นท์.
ประมวล รุจนเสรี. (2542). การบริหารการจัดการที่ดี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน.
ประเวศ วะสี. (2541). แนวคิดและวาทกรรมว่าด้วยธรรมรัฐแห่งชาติในธรรมาภิบาลกับคอรัปชั่นไทย. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2545). การคณะสงฆ์และการศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสุริยา หอมวัน. (2544). บุคลิกภาพของเจาอาวาสที่พึงประสงค์ : กรณีศึกษาพระภิกษุ-สามเณร วัดสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ(สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกริก.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2546). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.
ศิริพร พงศ์ศรีโรจน์. (2537). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สมพงษ์ เกษมสิน. (2539). การบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต.
Baker, R.J.S. (1972). Administrative Theory and Public Administration. London: Hutchinson University Library.