คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาผู้เรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0

Main Article Content

พระมหาอนันต์ องฺกุรสิริ

บทคัดย่อ

คุณธรรมจริยธรรมนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของคนทุกคนและทุกวิชาชีพ หากบุคคลใดหรือวิชาชีพใดไม่มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักยึดเบื้องต้นแล้วก็ยากที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จแห่งตนและแห่งวิชาชีพนั้นๆ ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือการขาดคุณธรรมจริยธรรมทั้งในส่วนบุคคลและในวิชาชีพ อาจมีผลร้ายต่อตนเอง สังคมและวงการวิชาชีพในอนาคตได้อีกด้วย ปัจจุบันในยุคโลกาภิวัตน์คุณธรรมและจริยธรรมอันดีงามของคนไทยของเรากำลังจะถูกละเลยจนทำให้เกิดปัญหาสังคมตามมาอย่างมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนและเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติ ได้รับวัฒนธรรมต่างชาติที่หลั่งไหลเข้ามา พร้อมกับความเจริญทางด้านเทคโนโลยี  โดยขาดการพิจารณาไตร่ตรองประกอบกับการไม่เป็นแบบอย่างที่ดีของบุคคลในสังคม ในการจัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาที่เน้นให้ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม เป็นการพัฒนาคุณภาพนักเรียนให้เป็นบุคคลที่ใฝ่รู้  ใฝ่เรียนอย่างต่อเนื่อง สามารถคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ รักเพื่อนมนุษย์ รักธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและมีจิตใจเป็นกลาง


ครูผู้สอนจะต้องปรับปรุงพัฒนาทักษะและประสบการณ์ในการสอนให้สอดคล้องกับ ความต้องการ ความสนใจ และเจตคติของผู้เรียน โดยเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้สามารถเรียนรู้เป็นเพื่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและนำไปใช้ในการสร้างและเตรียมทรัพยากรมนุษย์  ให้ประเทศมีคุณภาพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบยังยืนสู่การปฏิรูปการศึกษาในยุคไทยแลนด์ 4.0 คุณธรรมจริยธรรมจึงเป็นสิ่งสำคัญในสังคม ที่จะนำความสุขสงบและความและความเจริญก้าวหน้ามาสู่สังคมนั้นๆ เพราะเมื่อคนในสังคมมีคุณธรรมจริยธรรมแล้ว จิตใจก็ย่อมสูงส่ง มีความสะอาด และสว่างในจิตใจ จะทำการงานใดก็ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อน ไมก่อให้เกิดทุกข์แก่ตนเองและผู้อื่น เป็นบุคคลที่มีคุณค่ามีประโยชน์ และสร้างสรรค์คุณงามความดี อันเป็นประโยชน์ต่อสังคมประเทศชาติ พระศาสนาสืบไป

Article Details

How to Cite
องฺกุรสิริ พ. . . (2020). คุณธรรมจริยธรรมกับการพัฒนาผู้เรียนในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 2(2), 81–90. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jeir/article/view/247923
บท
บทความวิชาการ

References

ครูเชียงราย. (2555). การพัฒนาผู้เรียน. เข้าถึงได้จาก http://www.kruchiangrai.net/ (วันที่ค้นข้อมูล:5 เมษายน 2561).
พระธรรมปิฎก. (2540). พุทธธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระวิจิตรธรรมาภรณ์. (2558). ความหมายของคุณธรรม.เข้าถึงได้จากhttp://portal.tebyan.net/
Portal/Cultcure/ (วันที่ค้นข้อมูล : 5 เมษายน 2561).
พิศมัย เทียนทอง. (2553). การดำเนินการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์สุจริตของนักเรียนโรงเรียนบ้านเขามะกา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้ว เขต 1(วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
ราชบัณฑิตสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2542 . กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
วศิน อินทสระ. (2541). พุทธจริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ทองกวาว.
สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545). ปฏิรูปการศึกษา ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.
สุทัศน์พงษ์ กุลบุตร. (2550). การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่นักศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ศรีปทุม.