สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3

Main Article Content

กัญญาภัค พิชัย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำแนกตามขนาดโรงเรียน และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำนวน  337 คน โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูป Krejcie and Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับจำนวน 40 ข้อมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่า F-test



ผลการวิจัยพบว่า


1. ครูผู้สอนมีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก    
2. ผลการเปรียบเทียบสภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษเขต 3 จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมทุกด้าน พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


3. ผลการศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธเนศ คิดรุ่งเรือง. (2547). การประกันคุณภาพในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน ประเภทสายสามัญศึกษา. กรุงเทพฯ: วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร.

เนตรทราย บัลลังก์ปัทมา. (2551). บริหารงานวิชาการ...ให้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง. สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2563,จาก http://www.gotoknow.org/blogs/posts/205609.

Mattox, D.D. (1987).A Study of the In-service Needs of Iilinois Public School Elementary Principals. Dissertation Abstracts International, 38(12), 7061-A.