การทำแท้ง: วิกฤติของพุทธจริยธรรมในสังคมไทย

Main Article Content

ไพฑูรย์ สวนมะไฟ
อุทัย สติมั่น

บทคัดย่อ

การทำแท้งในบทความนี้กำหนดว่า เป็นการกระทำให้ตัวอ่อนที่จะเจริญเติบโตเป็นมนุษย์อย่างครบถ้วนต่อไปในอนาคตต้องถูกขจัดออกจากมดลูกด้วยความตั้งใจของผู้ตั้งครรภ์ จึงเป็นผลให้ตัวอ่อนที่กำลังมีชีวิตอยู่นั้นต้องถูกทำลายไป การกระทำนี้เป็นการตัดสินใจร่วมกันระหว่างผู้ตั้งครรภ์ซึ่งโดยทั่วไปควรเรียกว่าแม่ที่โดยธรรมชาติแล้ว ควรเป็นผู้ที่ให้การปกป้องแทนที่จะทำการฆ่าลูกของตนเอง และผู้ทำแท้งซึ่งเป็นผู้มีความรู้พอสมควรในการที่จะทำแท้งให้ประสบผลสำเร็จได้  จึงสมควรได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีปัญญา ผู้ประกอบการทั้งสองเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่ามนุษย์ซึ่งมีความหมายว่าผู้มีจิตใจสูง และในเมื่อผู้กระทำทั้งสองอยู่ในบริบทของดินแดนที่คำสอนของพระพุทธศาสนาได้รับการยอมรับว่า เป็นหลักจริยธรรมในการดำรงชีวิตด้วยหลักแห่งความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พร้อมทั้งการรู้ถึงบาป บุญ กุศล และอกุศล แต่ในปรากฏการณ์ของการทำแท้งในประเทศไทยยังเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงถือว่าพุทธจริยธรรมในประเทศไทยอยู่ในขั้นวิกฤติ ดังนั้น บทความนี้จึงนำเสนอแนวทางในการแก้ไขวิกฤติของสังคมไทยนี้โดยที่สถาบันพุทธศาสนาต้องดำเนินการทำให้คำสอนของพุทธจริยธรรมเข้าไปมีส่วนในการป้องกันไม่ให้การทำแท้งมีอีกต่อไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กีรติ บุญเจือ. (2519). จริยศาสตร์สำหรับผู้เริ่มเรียน.กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
ไฉไล ชุ่มฤทธิ์. (2523). กฎหมายว่าด้วยการทำแท้ง(วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเทียม เขมาภิรัตน์. (2524). ร่วมสร้างสังคมไทยด้วยการปรับปรุงกฎหมายทำแท้ง. กรุงเทพฯ: ยุนิตี้พับลิเคชั่น.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เยาวนิจ สุนนานนท์. (2524). กฎหมายทำแท้ง. รัฐสภาสาร, ๒๘(๘).
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น.
สถาบันปรีดี พนมยงค์. (2548). กฏหมายตราสามดวง เล่ม 2. กรุงเทพฯ: สถาบันปรีดี พนมยงค์.
สุพร เกิดสว่าง. (2524). ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำแท้งในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: ธีรการพิมพ์.
สุวัฒน์ จันทรจำนง. (2525). การทำแท้งกับปัญหาทางการแพทย์และสังคม. กรุงเทพฯ: รุ่งเรืองการพิมพ์.
Kimborugh, R.A. (1963). Clinical Obstetrics. edited by Lull, C.B. and Kimborugh, R.D. Philadelphia:
Lippincott.
Maestri, W. F. (1996). What the Church Teaches: A Guide for the Study of Evangelism Vitae, The Gospel of Life. Boston: Pauline Books & Media.
Pojman, L. P. (1998). The Abortion Controversy: Years after Roe V. Wade. Belmont: Wadsworth Publishing.
Srikachonlap, N. (2004). Catholic Doctrines and the Abortion Controversy: A Critical and Creative Analysis, Bangkok: Assumption University.