การพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการส่งเสริมคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม

Main Article Content

มานัส เวียงวิเศษ

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม 2) เพื่อสร้างรูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม และ 4) เพื่อประเมินความเหมาะสมของรูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 270 คน คือ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 15 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 15 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 120 คน ซึ่งได้จากบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนเครือข่ายผู้ปกครองของแต่ละห้องเรียน และนักเรียน จำนวน 120 คน โดยวิธีคัดเลือกแบบการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และ 2) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของการพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวหลวงวิทยาคมมี 5 องค์ประกอบ 2) รูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้รับการตรวจสอบ ยืนยัน และรับรองการสร้างรูปแบบ พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อให้รูปแบบมีความสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3) ผลการทดลองใช้การพัฒนารูปแบบในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด


         จากผลงานวิจัยนี้สามารถนำผลการพัฒนารูปแบบระบบดังกล่าวไปพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบัวหลวงวิทยาคม และไปใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษาในสังกัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). การปฏิรูประบบการศึกษาในกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

จันจิรา น้ำขาว. (2563). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารกับการบริหารงานวิชาการ ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 389-402.

จุฑาทิพย์ พงษา. (2558). สภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือ นักเรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9 (พิเศษ), 93-108.

ชยาภรณ์ ศฤงคารทวีกุล. (2557). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานการดูแลช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มเสี่ยงสำหรับโรงเรียน ประถมศึกษาขนาดกลางสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

มยุรี วรรณสกุลเจริญ และ ชาญณรงค์ รัตนพนากุล. (2563). ประสิทธิผลขององค์การ. วารสารศิลปการจัดการ, 4(1), 193-204

ประภาวรรณ ตระกูลเกษมสุข, อนุสรา สุวรรณวงศ์ และ ทินกฤตพัชร์ รุ่งเมือง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของครูและบุคลากรทางการศึกษา กับการรับรู้ช่องทางการสื่อสารการตลาดของโรงเรียน. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 129-143.

ปิยนุช สุวรรณนิตย์ และพรพิพัฒน์ เพิ่มผล. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาภาคใต้ตอนบน. วารสารสารสนเทศ, 16(2), 123-134.

พอรุ้ง แสงนวล. (2563). การบริหารความเสี่ยงกับประสิทธิผลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปการจัดการ, 4(3), 672-685

เพชริน สงค์ประเสริฐ. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 10(2), 48-64.

ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศร, (2563). การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 591-600.

รัญฑ์ฐิญา ไสยราช และ ฉลอง ชาตรูประชีวิน. (2562). ศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 21(2), 15-34

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2555). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.

อัษฎายุท โพธิ์นอก. (2558). สภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแล ช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Damnoen, P.S.P., Phumphongkhochasorn, P., Songsraboon, R. & Thongtao, J. (2021). The Development of a Large Schools Management According the King’s Philosophy Model. Psychology and Education Journal, 58(1), 1615-1621

Kongkawai, P.S., Phrakruarunsutalangkarn, P., Damnoen, P.S.P. & Khamhanphon, A. (2021). Buddhist Integrated of Management for the Youth Training of Moral Camp in Nakhon Si Thammarat Province. Psychology and Education Journal, 58(1), 3724-3728